นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวถึงการจัดประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ระหว่างวันที่ 30 เม.ย.- 4 พ.ค.นี้ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ องค์การสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร ว่า การประชุมดังกล่าวจะมีนักวิทยาศาสตร์ และผู้แทนรัฐบาลจาก 189 ประเทศ ทั่วโลกจำนวน 2,000 คนเข้าประชุมทางด้านวิชา การ ซึ่งการจัดในไทยเป็นครั้งที่ 3 โดยเนื้อหารายงานวิจัยจะว่าด้วยการทบทวนสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันและการคาดการณ์ในอนาคต และผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจกซึ่งจะสรุปผลการ ประชุมอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 พ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้จึงคงต้องข้อสรุปจากรายงานฉบับนี้ก่อน ว่าจะกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมหรือไม่ จึงจะบอกได้ว่าประเทศไทยควรจะมีท่าทีอย่างไร
Read the rest of this entry »
IPCC เปิดรายงานโลกร้อนฉบับ 3 ในไทย
ตุลาคม 9th, 2007น้ำท่วม – ฝนแล้ง ผลกระทบโลกร้อน
ตุลาคม 9th, 2007ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อภูมิอากาศในปัจจุบัน ทำให้ฤดูกาลต่างๆผิดเพี้ยน ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล หน้าแล้งยาวนานขึ้น หน้าฝนก็ตกหนักจนท่วม สิ่งเหล่านี้แปรปรวนไปเพราะภาวะโลกร้อนเป็นหลัก
เนื่องจากอุณหภูมิบนพื้นโลกสูงขึ้น ทำให้น้ำในมหาสมุทรและพื้นดินระเหยไปสะสมเป็นเมฆมากขึ้น ลมพายุได้นำพาเมฆเหล่านี้เข้าสู่พื้นดิน และกลั่นตัวตกลงมาเป็นฝนตกหนัก น้ำท่วมเฉียบพลันในพื้นที่นั้นๆ เช่นน้ำท่วมในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ หรือน้ำท่วมใหญ่ในจีนที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน
ภาพน้ำท่วมในจีน มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน
คุณกำลังฆ่าหมีขั้วโลก โดยไม่รู้ตัว
ตุลาคม 4th, 2007คุณอาจไม่รู้ตัวว่า ภาวะโลกร้อนที่กำลังรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆอีกมาก นอกจากมนุษย์
หนึ่งในนั้นก็คือ หมีขั้วโลก สัตว์โลกที่ไม่ได้มีส่วนทำให้โลกร้อนเลย แต่กลับต้องมารับกรรมจากการกระทำของมนุษย์
ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบกับหมีขั้วโลกอย่างไร
ภาวะโลกร้อนเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น แผ่นน้ำแข็งละลายมากขึ้น ในฤดูร้อน
หมีขั้วโลกมีลักษณะการหากินที่ชอบออกจากฝั่งไกล แต่จากภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น
ทำให้แผ่นน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น และมากขึ้น หลายครั้งที่หมีขั้วโลก ไม่สามารถกลับเข้าฝั่งได้ จนต้องจมน้ำ หรือขาดอาหารตาย
หนังสือพิมพ์ The New York Times ได้รายงานการคาดการณ์ว่า ประชากรหมีขั้วโลกจะหายไปถึง 2 ใน 3 ภายในปี 2050
Discovery Channel รายงานว่าประชากรหมีขั้วโลกในปัจจุบันลดลง 22% จาก 17 ปีที่แล้ว
คุณสามารถ ชมคลิปวิดีโอหมีขั้วโลกที่เจอผลกระทบ จาก WWF กองทุนเพื่อสัตว์ป่าระดับโลก ได้ที่นี่
ในสารคดี Planet Earth ของ BBC หรือที่ฉายในเมืองไทยในชื่อว่า ปฐพีชีวิต ได้รายงานผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อหมีขั้วโลกเช่นกัน
ทำไม หมีขั้วโลก ถึงต้องมาเป็นเหยื่อให้กับการกระทำของมนุษย์ ?
คุณสามารถลดมลภาวะของคุณเองได้ตั้งแต่วันนี้ ร่วมกันลดภาวะโลกร้อนตั้งแต่วันนี้ เพื่อโลกที่ดีขึ้น
คุณสามารถคำนวนมลภาวะคาร์บอนที่คุณปล่อยในแต่ละปีได้ที่นี่ Whyworldhot Carbon Calculator
10 วิธีลดภาวะโลกร้อนง่ายๆ
หรือบอกต่อเพื่อนๆของคุณ เดี๋ยวนี้ เพื่อให้ทุกคนช่วยกันมีส่วนร่วม ในการลดภาวะโลกร้อน
รายงานอื่นๆ เกี่ยวกับภาวะวิกฤติของหมีขั้วโลก
Is Global Warming Killing the Polar Bears?
แยกขยะ..ลดโลกร้อน
กันยายน 30th, 2007เนื่องจากว่าทางเราได้อ่าน Commentในเว็บของเราแล้วพบว่ามีนักศึกษาจาก “คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ”
ได้นำโครงการนี้ซึ่งชื่อว่า “แยกขยะ..ลดโลกร้อน” มา Post ไว้ครับ ทางทีมงาน Whyworldhot.com เห็นว่าเหมาะสมจึงช่วยประชาสัมพันธ์ต่อให้ครับ
ภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อไฟป่าใน Alaska
กันยายน 25th, 2007ป่าที่เคยชุ่มชื้นในอะลาสกา ปัจจุบันกำลังประสบปัญหาภัยแล้ง และไฟป่า ซึ่งภาวะแห้งแล้งเป็นผลกระทบหนึ่งจากภาวะโลกร้อน
ภาพจาก Alaska Fire Service, AP
เนื้อข่าวจาก TIME Global Warming Photo Essay : http://www.time.com/time/photoessays/2006/global_warming/
วิกฤตพลังงาน-โลกร้อน-คุ้มทุน-ปลอดภัย : เหตุผลที่ไทยต้องสร้าง “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์” ?
กันยายน 22nd, 2007
กระแสการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อแก้วิกฤติพลังงาน กำลังเป็นเรื่องที่มีคนพูดถึงกันหนาหูมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา จนเมื่อเร็วๆ นี้ 2 ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ตลอดจนกระทรวงพลังงาน ซึ่งมาร่วมรายการ ?รู้ทัน…ประเทศไทย? ของ ?เอเอสทีวี? ก็ออกมาย้ำชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น และมั่นใจได้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเป็นทางออกของวิกฤติพลังงานได้แบบอุ่นใจอย่างแน่นอน
ดร.กอปร กฤตยากีรณ ที่ปรึกษา รมว.วิทยาศาสตร์แล้เทคโนโลยี และประธานคณะกรรมการศึกษาความเหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย กล่าวถึงภาพลักษณ์ในเชิงอาวุธทำลายร้ายสูงของนิวเคลียร์ซึ่งยังติดอยู่ในใจของคนไทยว่า แม้การทำระเบิดปรมาณู และการผลิตกระแสไฟฟ้าต่างใช้ธาตุกัมมันตภาพรังสีคือ ?ยูเรเนียม? เป็นเชื้อเพลิงเช่นเดียวกันจริง ทว่าความจริงแล้วกลับมีความเข้มข้นของสารต่างกันมาก
?การใช้ในเชิงพลังงานไม่ได้นำธาตุยูเรเนียมมาวางใกล้ๆ กันมาก จนทำให้เกิดการระเบิดได้ แต่เพื่อให้เกิดการแตกตัวของอนุภาคยูเรเนียม และคายความร้อนออกมาต้มน้ำให้เดือดและได้ไอน้ำไปปั่นกระแสไฟฟ้าตามหลักการของโรงไฟฟ้าทั่วๆ ไปเท่านั้น? ที่ปรึกษา รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าว Read the rest of this entry »
ในหลวงห่วงโลกร้อน-น้ำมีรับสั่งให้หน่วยงานถวายรายงานทุกวัน
สิงหาคม 2nd, 2007ในหลวงทรงห่วง ภาวะโลกร้อน -สถานการณ์น้ำ ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ หลัง ภาวะโลกร้อน ทำอากาศแปรปรวน-ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น รับสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถวายรายงานอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ “อภิรักษ์” สนองพระราชดำรัส เตรียมส่งเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ชุมชนโดยตรงด้วย ด้านกรมชลฯ น้อมรับ เร่งบูรณาการแก้ปัญหาตามแนวพระราชดำริ พร้อมเปิดบริการเอสเอ็มเอสรายงานสถานการณ์น้ำผ่านมือถือทุกระบบฟรี เริ่ม 23 ก.ค.นี้
หลังจากที่ทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงปัญหา ภาวะโลกร้อน ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมเร่งหาหนทางแก้ไขเพื่อให้โลกไม่ต้องประสบกับภาวะอากาศที่แปรปรวนจากปัญหาดังกล่าว ในส่วนของประเทศไทยก็มิได้นิ่งนอนใจต่อปัญหา ภาวะโลกร้อน เช่นกัน ล่าสุดด้วยความเป็นห่วงใยต่อพสกนิกรที่อาจได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงสนพระราชหฤทัย และทรงห่วงใยต่อ สถานการณ์โลกร้อน รวมถึงสถานการณ์น้ำเป็นพิเศษ Read the rest of this entry »
หิมะตก ในเมืองหลวง อาร์เจนตินา ครั้งแรกในรอบ 89 ปี
กรกฎาคม 11th, 2007
ภาพหิมะตกในเมืองบูเอโนส ไอเรส เมืองหลวงของอาร์เจนตินา ซึ่งมีหิมะตกเป็นครั้งแรกในรอบ 89 ปี แสดงให้เห็นภาวะอากาศแปรปรวนที่ส่งผลกระทบจาก ภาวะ โลกร้อน ในขณะที่เทศบางเมืองนิวยอร์ก ประกาศตั้งศูนย์ทำความเย็น 290 แห่ง เพื่อเป็นที่พักผ่อนสำหรับผู้ไม่มีเครื่องปรับอากาศ (ไม่รู้จะยิ่งเพิ่ม โลกร้อน ละเปล่า)
อาร์เจนฯตื่นหิมะตกครั้งแรกเกือบศตวรรษ
บัวโนสไอเรส (เอพี/เอเอฟพี) ? ชาวอาร์เจนตินานับพันตื่นเต้นสุดขีดหลังเห็นหิมะใน เมืองหลวงเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 90 ปี วันที่ 10 ก.ค. มีรายงานว่า ชาวอาร์เจนตินาหลายพันคนต่างส่งเสียงร้องแสดงความยินดี และเล่นขว้างปาหิมะกันอย่างสนุกสนาน บนถนนของกรุงบัวโนสไอเรส ระหว่างที่มีหิมะ ตกหนักเป็นครั้งแรกในรอบ 89 ปี ยังผลให้มีกองหิมะสีขาวบางๆ ปกคลุมไปทั่วภูมิภาค Read the rest of this entry »
ความจริงของ ภาวะโลกร้อน
มิถุนายน 9th, 2007ภาวะโลกร้อน หรือสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง กำลังบอกเราว่า ไม่มีสัญญาณว่าโลกจะเย็นขึ้นแต่อย่างใด
นี่คือความจริงที่ว่า ทำไมมันถึงเกิดขึ้น อะไรคือสาเหตุ และมีผลกระทบกับโลกนี้อย่างไร
ภาวะโลกร้อน กำลังเกิดขึ้น ?
ใช่แน่นอน โลกกำลังแสดงสัญญาณหลายอย่างว่า ภาวะอากาศ กำลังเปลี่ยนแปลง
- อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.8 องศาเซลเซียส นับตั้งแต่ปี 1880 และส่วนมากเพิ่มขึ้นในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา จากข้อมูลของสถาบันวิจัยอวกาศกอดดาร์ดส์แห่งนาซา
- อัตราการเพิ่มของอุณหภูมิกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 2 ทศวรรษในศตวรรษที่ 20 มีปีที่ร้อนที่สุด ในรอบ 400 ปี และเป็นไปได้ว่าที่สุดในรอบ 1000 ปี จากข้อมูลของ IPCC ระบุว่า ใน 12 ปีที่ผ่านมา มี 11 ปีเป็นปีที่ร้อนที่สุดตั้งแต่ปี 1850
- อาร์กติกได้รับผลกระทบมากที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยในอลาสกา แคนาดาตะวันตก และรัสเซียตะวันออก เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานของ multinational Arctic Climate Impact Assessment ช่วงปี 2000-2004
- น้ำแข็งในอาร์กติก กำลังละลายอย่างรวดเร็ว และอาจไม่มีน้ำแข็งอีกเลย ในฤดูร้อน ปี 2040 หรือเร็วกว่า http://news.nationalgeographic.com/news/2006/12/061212-arctic-ice.html
ชาวพื้นเมืองและหมีขั้วโลกก็กำลังเผชิญกับภัยนี้เช่นกัน - ธารน้ำแข็ง และหิมะบนภูเขา ได้ละลายอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่นธารน้ำแข็งในอุทยานแห่งชาติมอนทาน่า ปัจจุบันเหลือเพียง 27 ธารน้ำแข็งจาก 150 เมื่อปี 1910
http://news.nationalgeographic.com/news/2004/12/
photogalleries/global_warming/ - ปะการัง ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากอุณหภูมิน้ำ ได้ตายมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในปี 1998 ปะการังกว่า 70% ขาวซีดในบางพื้นที่ http://news.nationalgeographic.com/news/2006/05/warming-coral.html
- ภาวะอากาศแปรปรวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น คลื่นความร้อนพายุ และการเกิดไฟป่า
มนุษย์เป็นตัวการหรือ ?
จากรายงานของ IPCC มีความเป็นไปได้สูงมาก โดยรายงานนี้จัดทำโดยนักวิทยาศาสตร์กว่า 2500 คนใน 130 ประเทศ ได้สรุปว่า มนุษย์เป็นตัวการของสาเหตุเกือบทั้งหมด ที่ทำให้เกิด ภาวะโลกร้อน Read the rest of this entry »
มะกัน-จีนกดดันเปลี่ยนแผนแม่บทรับมือ โลกร้อน
มิถุนายน 9th, 2007กทม. ระดมความคิดแก้ โลกร้อน โดยเน้นทุกคนมีส่วนสร้างและหยุดปัญหา ขณะที่ 33 องค์กรร่วมลงนามประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ 5 ข้อลด ภาวะโลกร้อน เพื่อร่วมกันลดการใช้พลังงาน ส่งเสริมวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงเตรียมตัวสู้กับ ภาวะโลกร้อน และปลูกต้นไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้น
องค์การสหประชาชาติ 9 พ.ค. – นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาความร่วมมือในการลด ภาวะโลกร้อน ในกรุงเทพฯ และบรรยายพิเศษถึงปัญหาและผลกระทบจาก ภาวะโลกร้อน ที่กรุงเทพฯ กำลังประสบเช่นเดียวกับเมืองอื่น ๆ จากทั่วโลก รวมทั้งแนวโน้มผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งในเรื่องสภาพอากาศที่รุนแรง แผ่นดินทรุดต่ำ ภาวะน้ำท่วม น้ำทะเลหนุน และการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนที่รุนแรงยิ่งขึ้น เป็นต้น
โดยผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงวิธีที่ประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมลด ภาวะโลกร้อน เริ่มจากการตระหนักและให้ความสำคัญกับปัญหาว่าทุกคนมีส่วนที่ทำให้อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้น ทั้งจากการใช้พลังงานไฟฟ้า น้ำมัน การผลิตขยะ จึงเป็นภาระหน้าที่ของทุกคนต้องร่วมมือกันลดปัญหา โดยไม่ใช้จนเกินความจำเป็น เพื่อจะลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ
Read the rest of this entry »