นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวถึงการจัดประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ระหว่างวันที่ 30 เม.ย.- 4 พ.ค.นี้ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ องค์การสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร ว่า การประชุมดังกล่าวจะมีนักวิทยาศาสตร์ และผู้แทนรัฐบาลจาก 189 ประเทศ ทั่วโลกจำนวน 2,000 คนเข้าประชุมทางด้านวิชา การ ซึ่งการจัดในไทยเป็นครั้งที่ 3 โดยเนื้อหารายงานวิจัยจะว่าด้วยการทบทวนสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันและการคาดการณ์ในอนาคต และผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจกซึ่งจะสรุปผลการ ประชุมอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 พ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้จึงคงต้องข้อสรุปจากรายงานฉบับนี้ก่อน ว่าจะกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมหรือไม่ จึงจะบอกได้ว่าประเทศไทยควรจะมีท่าทีอย่างไร
วันเดียวกัน ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยาผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (START) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฉียงใต้กล่าวในเวทีสื่อไทยเท่าทันภาวะโลก ร้อนว่าปัจจุบันอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำ ทะเลสูงขึ้น จากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่า ระดับน้ำทะเล ในอันดามันสูงประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ขณะที่ระดับน้ำทะเลอ่าวไทยสูงประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งการ เพิ่มขึ้นดังกล่าวตามหลักทฤษฎีเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม จะทำการตรวจวัดระดับน้ำทะเลทั้งสองบริเวณอีกครั้ง โดยใช้เครื่องตรวจวัดการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งของพื้นโลก เพื่อศึกษาว่าแผ่น ดิน ที่ตรวจเกิดการทรุดตัวหรือไม่คาดว่าภายใน 1 ปี จะสามารถยืนยันความถูกต้องของระดับน้ำทะเล ได้
ดร.อานนท์ กล่าวถึง การเกิดฝนลูกเห็บบริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศว่า คนเข้าใจว่าอาจมีส่วนสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน ซึ่งหากพิจาณาแล้วก็อาจเกี่ยวข้อง แต่ไม่โดยตรงเพราะฝนลูกเห็บเกิดจากพายุฤดูร้อน ซึ่งเกิดจากมวลอากาศร้อน ที่มีความชื้นและลอยสูงขึ้นไปปะทะกับ มวลอากาศเย็น จนเกิดปฏิกิริยากลายเป็นน้ำแข็ง ตกลงมาเป็นฝนลูกเห็บ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวหากเกิดถี่ในแต่ละปีก็อาจมีส่วนสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน แต่จำเป็นต้องศึกษาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีจึงจะ สรุปได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ กรุงเทพฯมีสิทธิเกิดฝนลูกเห็บได้เช่นกัน เพราะช่วงนี้พายุฤดูร้อน เข้ามาภาคกลาง ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ซึ่งเรื่องนี้พยากรณ์ยากมาก ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ แต่ ภูมิปัญญาชาวบ้านจะสังเกตโดยดูว่า ช่วงไหนที่อากาศร้อนอบอ้าวมากๆ รู้สึกว่าตัวเหนียวเหนอะหนะ
From: http://www.efe.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=505&Itemid=43
การแก้ปัญหาโลกร้อน ไม่ใช่แค่คิดจะทำ แต่ต้องลงมือทำจริง
ปัจจุบันคนไทยที่ตื่นตัวเรื่องนี้ยังมีอยู่น้อย ร่วมกันเผยแพร่ความรู้เรื่องภาวะโลกร้อน ด้วยการ Link มาหาเว็บเราครับ
(โดยหากคุณต้องการให้ Link กลับไปสามารถติดต่อได้ตาม E-mail ด้านบนครับ)
หยุดทำลายโลร้อน แล้วหันมาร่วมมือกันหยุดปัญหาโลกร้อยกันดีกว่า
[…] IPCC เปิดรายงาน โลกร้อน ฉบับ 3 ในไทย […]
แม่บ้านสู้โลกร้อน ผมทำมานานนับ10ปีแล้ว หลักการคือ”สร้างไอน้ำให้อากาศ” โดยใช้น้ำซักผ้า180ลิตร/สัปดาห์/ครั้ง. นำมาสาดบางๆๆบนพื้นร้อนๆตอนบ่าย3-4รอบ ให้ระเหยเป็ยไอน้ำให้บรรยากาศทดแทนป่าไม้ได้สบายๆหรือรดต้นไม้หรือสาดกำแพงได้แอร์เย็นๆเหตุผลคือ การระเหยของน้ำจะดูดความร้อนๆจะหายไปเรื่อยๆเหลือความเย็นให้รอบบ้านเรา นี่คือการนำน้ำเสีย(น้ำซักผ้า)มาให้คุณค่าแก่โลกเรา 2.การสเปรส์น้ำใส่คอยส์ร้อนแอร์ขณะทำงานความร้อนของรังผึ่งแอร์ทำให้น้ำระเหยเป็นไอน้ำได้ เราจะได้ 2 อย่างคือ ลมเย็น-10 องศาจากอากาศตรงนั้น เช่น 40องศา-10 จะได้ลมเย็ยๆๆที่ 30 องศา/ระบบแอร์ก็เย็นขึ้นด้วย
Very nice information. Im heading to bangkok shortly and want to know how to get my way around. Any advice or maps?
อยากให้โรงสี และสถานที่ที่มีหลังคากว้าง ร่วมกันรณรงค์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าเซลล์ ทดแทนพลังงานไฟฟ้า หรือสถานที่ราชการ เป็นตัวอย่างนำร่อง ก็จะดีมากเลย
โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานจากการเผาแกลบ หรือการเผาผลาญเชื้อเพลิงอื่นๆ ควรลดจำนวนการเผา และหันมาใช้พลังงานสะอาดบ้าง เพื่อลดมลพิษในอากาศ
ร่วมมือร่วมใจกันเพื่อโลกของเราเถอะนะ ทำเลยนะ ตั้งแต่วันนี้เลย เพื่อลูกหลานพวกเรา …