ผลลัพท์การค้นหาสำหรับ “แก้ปัญหาโลกร้อน” – Why world hot : หยุด! ภาวะโลกร้อน https://www.whyworldhot.com เว็บไซต์เกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อน รวมทั้ง ปัญหาภาวะโลกร้อน และ วิธีในการแก้ไขปัญหา โลกร้อน Tue, 18 May 2010 13:34:04 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.8.24 The World Wants A Real Deal https://www.whyworldhot.com/globalads/the-world-wants-a-real-deal/ https://www.whyworldhot.com/globalads/the-world-wants-a-real-deal/#comments Tue, 18 May 2010 12:57:03 +0000 http://www.whyworldhot.com/?p=164 นำมาจาก บล็อกของพี่ก้อง ทรงกลด บางยี่ขัน นะครับ

http://www.lonelytrees.net/?p=1651

เห็นว่า โฆษณาตัวนี้น่าสนใจมากเลยนำมาฝากเพื่อนๆกันครับ

บางที ก็น่าจะถึงเวลาเเล้วนะครับ ที่เราควรจะมาทำอะไรซักอย่างเพื่อโลกของเรากัน

เจ้าของโฆษณา: Moms Against Climate Change (Environmental Defence Canada & ForestEthics)
บริษัทโฆษณา: Advertising Agency: Zig, USA

เพื่อให้การชมโฆษณาและการอ่านออกรสออกชาติอย่างเต็มที่
แนะนำว่าควรดูคลิกดูหนังโฆษณาเรื่องนี้ก่อนครับ
(พักชมโฆษณาสักครู่)

ต่อไปนี้เป็นช่วงเนื้อหานะครับ ไม่ใช่ช่วงโฆษณา
ถ้าใครพอจะตามข่าวปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่บ้าง
น่าจะพอทราบว่า ในระดับนานาชาติมีการขับเคลื่อนอย่างหนึ่งโดย
ผู้แทนจากประเทศสมาชิกของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ หรือ UNFCCC (United Nations Framework Convention on Climate Change)
ได้จัดประชุมเพื่อหาทางแก้ปัญหาโลกร้อนกันมาโดยตลอด
การประชุมนี้เรียกสั้นๆ ว่า COP (Conference Of the Parties)
ครั้งที่ดังหน่อยก็คือ COP 3 ที่โตเกียว ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของ ‘พิธีสารเกียวโต’
เวลาผ่านไป 14 ปี ก็ล่วงมาถึง COP 15 ที่โคเปนเฮเกน
ซึ่งกำลังประชุมกันอยู่ ในช่วงระหว่างวันที่ 7-18 ธันวาคมนี้
จุดที่ทำให้ COP 15 เป็นที่พูดถึงค่อนข้างมากก็คือ
ครั้งนี้จะเป็นการตัดสินใจว่า จะทำอย่างไรต่อไป หลังจากที่พันธกรณีแรกของพิธีสารเกียวโตจะสิ้นสุดลงในปี 2552 นี้

พิธีสารเกียวโตนั้นร่างขึ้นมาเมื่อสิบกว่าปีก่อน
ในวันที่ผลกระทบของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังไม่รุนแรงขนาดนี้
และผู้คนยังไม่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามากมายทั่วโลกอย่างนี้
ข้อกำหนดต่างๆ เลยร่างขึ้นมาอย่างแบ่งรับแบ่งสู้
ถึงวันนี้ มาตรฐานในการลดการปล่อย รวมถึงความเคร่งครัดของพิธีสารเกียวโต ถูกวิจารณ์กันมากว่า
ไม่น่าจะช่วยกอบกู้โลกได้ทันท่วงที
การประชุมครั้งนี้เลยพยายามหาข้อสรุปว่า การแก้ปัญหาในระดับโลกจะเคลื่อนยังไงต่อไป

ในห้องประชุมก็ประชุมกันไป
นอกห้องประชุม ก็มีประชาชน และองค์กรต่างๆ ออกมารวมตัวกันอย่างสันติ
เพื่อเรียกร้องให้ผู้นำของแต่ละประเทศที่กำลังนั่งอยู่ในห้องประชุม ช่วยหาทางแก้ปัญหาที่จริงจังหน่อย
ไม่ใช่มานั่งพูดประโยคสวยๆ ใส่กัน แล้วก็จากกันไปแบบไร้ทางออกที่นำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เหมือนอย่างครั้งที่ผ่านๆ มา
นั่นเลยนำมาซึ่งแคมเปญนี้มีชื่อว่า The World Wants a Real Deal
จัดกันทั่วโลกโดยองค์กรสิ่งแวดล้อมทั้งใหญ่ทั้งเลข ตัวเลขล่าสุด มีการจัดกิจกรรมชวนคนที่คิดเห็นตรงกันมารวมตัวกัน
2,723 แห่ง ใน 136 ประเทศ
ประเทศไทยของเราก็มีครับ
จัดโดย มูลนิธิโลกสีเขียว, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม
และเครือข่ายชาวกรุงเทพฯ ผู้ห่วงใยภาวะโลกร้อน
งานมีวันที่ 12 ธันวาคม 2552 เวลา 16.00-17.00 น. ที่ลานคนเมือง หน้าเสาชิงช้า
ทีมงานแจ้งว่า ถ้าเดินทาง และร่วมงานอย่างประหยัดพลังงานได้ทุกคน จะดีมากๆ

ผมเชื่อว่า หลายคนคงมีคำถามกับกิจกรรมแนวนี้ว่า ทำเพื่ออะไร
การนัดมารวมตัวกันจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้
ผมก็ไม่ทราบครับว่ามันจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้
แต่อย่างน้อยที่สุด ก็แสดงให้เห็นว่า คนกลุ่มหนึ่งเห็นว่าปัญหานี้เป็นเรื่องสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนในเชิงนโยบาย
แค่มารวมตัวกันเพื่อบอกสิ่งที่อยากบอก กับผู้ที่ควรได้รับทราบ
ปัญหานี้มีตัวตน
และผู้ที่อยากให้แก้ปัญหาก็มีตัวตน

กลับมาที่งานโฆษณาของ Moms Against Climate Change
ผมชอบประโยคสุดท้าย ซึ่งเล่าถึงที่มาว่าทำไมเด็กเหล่านี้ถึงมารวมตัวกันประท้วง
If our children knew ‘the fact’ we do, they’d take action.
Shouldn’t you?

รีบแก้ในสิ่งที่เราทำ
หรือจะรอให้คนที่ไม่ได้ทำลุกขึ้นมาแก้?


]]>
https://www.whyworldhot.com/globalads/the-world-wants-a-real-deal/feed/ 1
ใช้สมองมองโลก https://www.whyworldhot.com/globalads/159/ https://www.whyworldhot.com/globalads/159/#comments Tue, 18 May 2010 12:50:15 +0000 http://www.whyworldhot.com/globalads/159/

ไปเจอโปสเตอร์โฆษณาตัวหนึงมา

ถ้าดูๆไปเเล้ว โปสเตอร์ ก็เป็น โปสเตอร์ รณรงส์ภาวะโลกร้อนธรรมดา

ไม่ได้มีอะไรสะดุดตา

เเต่ผมกลับไปสะดุด กลับคำเเปลที่ พี่ก้อง ทรงกลด เขียน

ก็เลยอยากนำมาให้เพื่อนๆอ่านกันครับ

http://www.lonelytrees.net/?p=429

พออ่านจบเเล้ว ผมก็ได้ข้อคิดมาว่า

บางทีปัญหา เราก็มักจะเเก้โดยใช้ วิธีวัวหายล้อมคอก

โดยไม่ได้หาต้นเหตุของปัญหา

ข้อความ: “Climate change starts here.”
บริษัทโฆษณา:  imagine’ Amsterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์

โฆษณาชิ้นนี้พูดในสิ่งที่ผมคิดและเชื่อมาทั้งชีวิต
นั่นก็คือเรื่อง ทัศนคติ ของคน
เมื่อไหร่ก็ตามที่ผมถูกถามถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุด
หรือถามถึงทางแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ผมอยากแก้เป็นอันดับแรก
ผมไม่ลังเลที่จะตอบว่า ผมสนใจเรื่องทัศนคติของคนมากกว่าเรื่องอื่น
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือปัญหาโลกร้อนนั้นสลับซับซ้อน
ต่อให้เราปรับเปลี่ยนนโยบาย ปรับปรุงกฎหมาย
แต่เรายังไม่เห็นความสำคัญในการแก้ปัญหา
ยังไม่มองมันเป็นปัญหาที่เกิดจากมือเรา และเราต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ยังไงปัญหานี้ก็ไม่มีทางแก้ได้

แต่กลับกัน ถ้าทุกคนตระหนักรู้ว่า มันคือปัญหาสำคัญที่เราทุกคนสมควรร่วมกันแก้
แม้ว่าจะไม่มีกฎหมายสักฉบับออกมาบังคับใช้
ผมก็เชื่อว่าปัญหานี้น่าจะแก้ไขได้

ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม เรามักจะพูดถึงประโยคหนึ่งกันอยู่บ่อยๆ
นั่นก็คือ
It’s not in my backyard.
มันไม่ได้อยู่ในสนามหลังบ้านฉัน
โลกนอกรั้วบ้านไม่ใช่โลกของเรา เราไม่มีส่วนรับผิดชอบกับมัน
โดยที่เราลืมไปเสียสนิทว่า โลกใบนี้มีใบเดียว
ท่อน้ำทิ้งที่ต่อให้เลยเขตรั้วบ้านออกไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่เราต้องรับผิดชอบ
เราเปิดแอร์เย็นฉ่ำอยู่ในบ้าน ในขณะที่คอมเพรสเซอร์แอร์เป่าลมร้อนผ่าวใส่คนเดินถนน หรือคนข้างบ้าน
เราสุขสบายกับความเย็น และไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องรับผิดชอบกับความร้อนที่เราก่อ
ทัศนคติแบบนี้แหละครับที่ทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาลง

ปัญหาโลกร้อนเกิดขึ้นจากทัศนคติของคนที่เห็นแก่ความสบายของตัวเองเป็นหลัก
ไล่มาตั้งแต่โรงงานอุตสาหกรรมยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศพัฒนาแล้ว
มาถึงโรงงานยุคปัจจุบันในประเทศโลกที่สาม
และไลฟ์สไตล์ละลายทรัพยากรและพลังงานของคนทั่วโลก
ถ้าปัญหามันเริ่มต้นจากทัศนคติ
เราก็ควรจะแก้กันที่ตรงนั้น

ถุงผ้าไม่ใช่ทางแก้ปัญหาโลกร้อน
การปรับเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการใช้ทรัพยาการของคนต่างหาก
ผมคิดว่าอย่างนั้นนะครับ

เครดิต-คุณ ทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการ aday

]]>
https://www.whyworldhot.com/globalads/159/feed/ 2
คนนับหมื่นจากทั่วโลกร่วมกำหนดทางสู้โลกร้อนบนเกาะบาหลี https://www.whyworldhot.com/whyworldhot-site/latest-ipcc-conference/ https://www.whyworldhot.com/whyworldhot-site/latest-ipcc-conference/#comments Mon, 17 Dec 2007 11:57:09 +0000 http://www.whyworldhot.com/news/latest-ipcc-conference/ การประชุม IPCC

เอเอฟพี / เอพี ? เหล่าผู้แทนและนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกร่วมการประชุมโลกร้อนครั้งใหญ่ที่สุด โดยยูเอ็นโต้โผใหญ่หวังเกิดกระบวนการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว และสร้างสนธิสัญญาสากลใหม่เพื่อต่อสู้กับภัยสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ อันเป็นผลจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศให้ได้ภายในปี 2552

ผู้ร่วมประชุมจากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก บวกกับนักรณรงค์และผู้สื่อข่าว รวมแล้วกว่า 10,000 คนตอนนี้ กำลังรวมตัวอยู่บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และพวกเขาจะตั้งหลักอยู่นั่นถึง 11 วัน เพื่อร่วมการประชุมสหประชาชาติภายใต้กรอบอนุสัญญาแม่บทว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) ระหว่างวันที่ 3-14 ธ.ค.50

การประชุมที่บาหลีในครั้งนี้ นับเป็นสุดยอดแห่งความร่วมมือในการแก้ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงที่กำลังเข้าขั้นวิกฤติ โดยรายงานฉบับสุดท้ายอันเป็นสรุปสุดยอดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ก็จะมีการเปิดเผยกันในที่ประชุมแห่งนี้ พร้อมกับผลสรุปที่ว่าโลกเรามีเทคโนโลยีดีพอที่จะชะลอสภาวะโลกร้อน (global warming) แต่ต้องเดินหน้าอย่างเร่งด่วน

จุดหมายที่เร่งด่วนจากการประชุมครั้งนี้ ก็คือการเจรจาต่อรอเพื่อตั้งสนธิสัญญาฉบับใหม่ขึ้นแทนที่พีธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ที่กำลังจะหมดอายุลงในปี 2555 โดยจะต้องกำหนดวาระและเส้นตาย ซึ่งสหประชาชาติเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวจะต้องสรุปให้ได้ภายในปี 2552 จึงจะใช้งานต่อเนื่องจากพิธีสารเกียวโตได้ทันการณ์

อย่างไรก็ดี สหรัฐอเมริกาก็เป็นชาติที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษเช่นเคย และการปฏิเสธเข้าร่วมพิธีสารเกียวโตของพญาอินทรี อาจทำให้ถูกตัดออกจากการเจรจาสัญญาต่อจากนี้ ซึ่งอเมริกายังคงอ้างเช่นเดิมว่าการลดปริมาณการปล่อยก๊าซก่อเรือนกระจกตามข้อตกลงในพิธีสารนั้น จะมีผลต่อเศรษฐกิจ อีกทั้งยังตั้งคำถามต่อข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่นำเสนอปรากฏการณ์โลกร้อน

ทั้งนี้ หัวข้อถกเถียงส่วนใหญ่คือประเด็นการลดการปล่อยก๊าซก่อเรือนกระจกจะมากน้อยเท่าใดนั้นควรมีมาตรการบังคับ (อย่างในพิธีสาร) หรือตามความสมัครใจ (อย่างที่สหรัฐฯ ต้องการ) และควรจะหมายรวมถึงประเทศกำลังพัฒนาที่มีอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็วอย่างจีน อินเดีย และบราซิล รวมเข้าไปด้วย อีกทั้งจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือประเทศยากจนให้ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่เลวร้ายอย่างทุกวันนี้

ข้อมูลจากรายงานของไอพีพีซี ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก แนะนำว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ ที่เก็บกักความร้อนจนก่อสภาวะเรือนกระจกจะต้องมีการปลดปล่อยในปริมาณที่เสถียรภายในปี 2558 และจากนั้นหากลดลงไม่ได้ก็จะเกิดภาวะที่ร้ายแรง

การแก้ปัญหาที่ทำได้ในขณะนี้ตามข้อแนะนำของไอพีซีซีคือ ลงทุนกับพลังงานหมุนเวียนเพื่อปรับปรุงการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และถ้าไม่ทำอะไรเลย อุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ (ซึ่งมากถึง 1 ใน 3) และอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

ทว่าทั้งหมดนี้ต้องอาศัยนโยบายทางการเมืองของแต่ละประเทศเข้าช่วย

ตลอดระยะเวลาแห่งการประชุมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน รัฐบาลของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐฯ ส่งสัญญาณที่จะต่อรองความร่วมมือต่างๆ ตรงกันข้ามกับพิธีสารตลอดมา ทั้งๆ ที่ยูเอ็นต้องการให้พญาอินทรีให้ความร่วมมือ และการเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ เป็นวงใหญ่เมื่อดำเนินไปพร้อมกับรัฐบาลของออสเตรเลียที่มีนายจอห์น โฮเวิร์ดเป็นนายกรัฐมนตรี

แต่ในการประชุมครั้งนี้ สหรัฐฯ ต้องโดดเดี่ยว เพราะเควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของออสเตรเลีย ที่เพิ่งสาบานตนรับตำแหน่งไปไม่กี่วัน นอกจากจะประกาศแสดงเจตนารมณ์เข้าร่วมพิธีสารเกียวโตแล้ว ในวันแรกของการประชุมที่บาหลี ผู้แทนของออสเตรเลียได้ลงนามในพิธีสารเป็นที่เรียบร้อย

พิธีสารเกียวโตเป็นข้อตกลงร่วมกันในประเทศที่ลงนามมากว่า 10 ปี โดยเรียกร้องให้ประเทศอุตสาหกรรม 36 ชาติลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซก่อเรือนกระจกอื่นๆ ที่มาจากโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งเกษตรกรรมและการคมนาคมให้ได้ภายในปี 2555 โดยเฉลี่ย 5% จากระดับในปี 2533

Credit

]]>
https://www.whyworldhot.com/whyworldhot-site/latest-ipcc-conference/feed/ 11
UN จัดประชุม ผู้เชี่ยวชาญ ที่ กทม. https://www.whyworldhot.com/global-warming/ipcc-global-warming-at-bangkok/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/ipcc-global-warming-at-bangkok/#comments Sun, 29 Apr 2007 14:03:30 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/ipcc-global-warming-at-bangkok/ เอเอฟพี ? บรรดา ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเข้าร่วมการประชุมเป็นเวลา 5 วันตั้งแต่วันจันทร์ (30) นี้ที่ กรุงเทพฯ อันจัดขึ้นโดยหน่วยงานด้าน ความเปลี่ยนแปลง ของ บรรยากาศ ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดของ สหประชาชาติ เตรียมที่จะเสนอต่อบรรดาผู้นำของโลกว่า ช่องทางโอกาสที่จะ แก้ปัญหาโลกร้อน ด้วยการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก นั้น กำลังหดแคบลงทุกทีแล้ว อย่างไรก็ตาม เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับทำงานนี้มีอยู่แล้วพรักพร้อม และ ค่าใช้จ่าย ก็ยังอยู่ในระดับ ไม่แพง

ด้วยการผสมผสานนโยบายและเทคโนโลยีต่างๆ อย่างฉลาดหลักแหลม ค่าใช้จ่ายในการประคับประคองระดับ ไอเสีย เรือนกระจก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกสาร คาร์บอน อย่างเช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้คงที่อยู่ใกล้แถวๆ 75% เหนือระดับในปัจจุบัน ภายในปี 2030 นั้น จะต้องใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน (จีดีพี) ของโลกเพียงแค่ 0.2%

แต่ถ้าต้องการทำให้ดีกว่านั้น นั่นคือ ให้มีการปล่อยไอเสีย คาร์บอน คงที่ในระดับสูงกว่าปัจจุบันเพียงราวๆ แค่ 50% แล้ว ก็จะใช้จีดีพีโลกประมาณ 0.6%

สถานการณ์สมมุติเหล่านี้ ที่ได้จากการศึกษาคาดคำนวณของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ กำลังถูกร่างบรรจุไว้ในรายงานฉบับหนึ่ง ซึ่งจะนำออกเผยแพร่ที่กรุงเทพฯ ในวันศุกร์ (4พ.ค.) อันเป็นวันสุดท้ายในการประชุมซึ่งจัดโดย คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ (ไอพีซีซี) หน่วยงานของ ยูเอ็น ซึ่งได้รับความเชื่อถือว่าเชี่ยวชาญที่สุดเรื่อง โลกร้อน

อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่ายังจะมีการอภิปรายถกเถียงกันอย่างดุเดือด ระหว่างที่เหล่าผู้แทนของชาติสมาชิกต่างๆ ประชุมกันเป็นการภายใน เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน โดยเฉพาะในส่วนบทสรุปย่อสำหรับผู้บริหารของรายงานฉบับนี้ ซึ่งจะมีอิทธิพลสำคัญยิ่งต่อบรรดาผู้กำหนดนโยบายในทั่วโลก

ประเด็นซึ่งคงเกิดการโต้เถียงกันหนัก มีอาทิ เพดานสูงสุดระดับ คาร์บอนไดออกไซด์ ที่จะยอมให้ปล่อยสู่ บรรยากาศ ได้, ภาษีที่จะจัดเก็บจากการปล่อย ไอเสีย คาร์บอน, ตลอดจนการเอ่ยพาดพิงถึง พิธีสารเกียวโต ซึ่งประเด็นหลังนี้ถือเป็นของแสลงสำหรับ ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช

นอกจากนั้น ยังอาจมีการทะเลาะกันในประเด็นอย่างเช่น จะเสนอแนะให้ใช้ พลังงานนิวเคลียร ์เป็นทางเลือกหนึ่ง ทดแทนการใช้ เชื้อเพลิงฟอสซิล จากพวก น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซ และ ถ่านหิน หรือไม่ ตลอดจนประเด็นเรื่อง การเก็บกัก คาร์บอน อันเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งผุดขึ้นใหม่ๆ ซึ่งเสนอว่าอาจเป็นไปได้ที่จะ แก้ปัญหา ด้วยการนำเจ้า ก๊าซเรือนกระจก ไปเก็บไว้ใต้ดินลึกๆ

รายงานที่จะออกที่ กรุงเทพฯ นี้ ถือเป็นตอนสุดท้ายของรายงานรวม 3 ตอนของ ไอพีซีซี ซึ่งมุ่งปรับปรุงเพิ่มพูนความรู้ด้าน การเปลี่ยนแปลง ของ บรรยากาศโลก ให้ทันสมัยที่สุด โดยอาศัยงานศึกษาวิจัยของ นักวิทยาศาสตร ์ในทั่วโลก 2,500 คนเป็นพื้นฐาน

ในรายงานตอนสุดท้ายนี้ จะระบุ นโยบาย, เทคโนโลยี, และมาตรการที่จะชะลอหรือกระทั่งยุติ ภาวะโลกร้อน ได้ในที่สุด

ร่างรายงานซึ่ง เอเอฟพี ได้รับมา ยังไม่ได้ถึงขั้นยื่นข้อเสนอแนะอะไร แต่บอกว่าเหลือเวลาให้สูญเปล่าไปน้อยเต็มทีแล้ว

ขณะเดียวกัน ร่างรายงานก็ชี้ว่า หนทางและเครื่องมือที่จะสู้ ปัญหา ไอเสีย นั้น เรามีกันอยู่ในมือแล้วหรือไม่ก็กำลังจะได้มาในเร็ววันนี้

ทางเลือกเหล่านี้มีอาทิ การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไม่ว่าในการก่อสร้าง อุตสาหกรรม หรือการขนส่ง, การใช้กลไกทาง เศรษฐกิจ หรือการคลังเพื่อกระตุ้นส่งเสริม พลังงาน ซึ่งนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อาทิ ลม แสงอาทิตย์ และ ความร้อนใต้พิภพ, การให้แรงจูงใจใน ภาคป่าไม้ และ การเกษตร ซึ่งรวมแล้วเป็นตัวปล่อย ก๊าซเรือนกระจก กว่า 30% ของยอดรวมทั้งหมด

วิธีที่จะลดการปล่อย ไอเสีย คาร์บอน ได้มากๆ อีกวิธีหนึ่งได้แก่ การกำหนด มาตรฐาน ที่เข้มงวดขึ้นสำหรับ อาคารบ้านเรือน, ยานพาหนะ ที่ใช้ เครื่องยนต์, และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งหลาย

อย่างไรก็ดี สาระสำคัญของ มาตรการ ทั้งหมด เหล่านี้ ได้แก่ การสร้าง ?ราคาคาร์บอน? ขึ้นมา หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือการผ่องถ่ายค่าใช้จ่ายด้าน มลพิษไปให้แก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคแบกรับ เพราะนั่นจะเป็นแรงจูงใจอันทรงพลังให้เกิด เทคโนโลยี ใช้ พลังงาน อย่างทรง ประสิทธิภาพ และปล่อย ไอเสีย คาร์บอน ต่ำ

ร่างรายงานชี้ว่า ยิ่งราคา คาร์บอน สูง ก็ยิ่งมีศักยภาพใน การลด การปล่อยไอเสีย เป็นต้นว่า หาก ราคาคาร์บอน นี้ถูกกำหนดให้อยู่ในระดับตันละ 20 ดอลลาร์ นั่นคือ ผู้ผลิต และ ผู้บริโภค ต้องเฉลี่ยรับภาระกันไปในระดับนี้แล้ว จะทำให้ลดการปล่อย ไอเสีย คาร์บอน ได้ระหว่าง 9,000 ? 18,000 ล้านตันต่อปี หรือถ้าราคาพุ่งเป็นตันละ 100 ดอลลาร์ ก็จะลด การปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ได้ 16,000 ? 30,000 ล้านตันต่อปีทีเดียว

ทว่าเรื่องที่ดีสำหรับ สิ่งแวดล้อม อาจขัดแย้งกับ ภาวะเศรษฐกิจ ที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในเมื่อ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซ และ ถ่านหิน ยังน่าจะเป็นแหล่ง พลังงานหลักของโลก ไปอีกหลายสิบปี ทั้งนี้ตามการศึกษาของ สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ(ไออีเอ)

เหล่า นักเศรษฐศาสตร์ โต้แย้งว่า ถ้า ราคาคาร์บอน ขึ้นสูงไปและเร็วไป พวกเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพิง เชื้อเพลิงฟอสซิล ก็มีหวังพังพาบเป็นแถวๆ

Credit : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000048658

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/ipcc-global-warming-at-bangkok/feed/ 7
ร่วมแก้ ปัญหาโลกร้อน https://www.whyworldhot.com/solving-global-warming/ https://www.whyworldhot.com/solving-global-warming/#comments Thu, 05 Apr 2007 03:11:37 +0000 http://localhost/whyworldhot/?page_id=19 บทความต่างๆ เกี่ยวกับการแก้ไข ปัญหาโลกร้อน ที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ

]]>
https://www.whyworldhot.com/solving-global-warming/feed/ 198