ผลลัพท์การค้นหาสำหรับ “ปัญหาโลกร้อน” – Why world hot : หยุด! ภาวะโลกร้อน https://www.whyworldhot.com เว็บไซต์เกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อน รวมทั้ง ปัญหาภาวะโลกร้อน และ วิธีในการแก้ไขปัญหา โลกร้อน Tue, 18 May 2010 13:34:04 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.8.24 The World Wants A Real Deal https://www.whyworldhot.com/globalads/the-world-wants-a-real-deal/ https://www.whyworldhot.com/globalads/the-world-wants-a-real-deal/#comments Tue, 18 May 2010 12:57:03 +0000 http://www.whyworldhot.com/?p=164 นำมาจาก บล็อกของพี่ก้อง ทรงกลด บางยี่ขัน นะครับ

http://www.lonelytrees.net/?p=1651

เห็นว่า โฆษณาตัวนี้น่าสนใจมากเลยนำมาฝากเพื่อนๆกันครับ

บางที ก็น่าจะถึงเวลาเเล้วนะครับ ที่เราควรจะมาทำอะไรซักอย่างเพื่อโลกของเรากัน

เจ้าของโฆษณา: Moms Against Climate Change (Environmental Defence Canada & ForestEthics)
บริษัทโฆษณา: Advertising Agency: Zig, USA

เพื่อให้การชมโฆษณาและการอ่านออกรสออกชาติอย่างเต็มที่
แนะนำว่าควรดูคลิกดูหนังโฆษณาเรื่องนี้ก่อนครับ
(พักชมโฆษณาสักครู่)

ต่อไปนี้เป็นช่วงเนื้อหานะครับ ไม่ใช่ช่วงโฆษณา
ถ้าใครพอจะตามข่าวปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่บ้าง
น่าจะพอทราบว่า ในระดับนานาชาติมีการขับเคลื่อนอย่างหนึ่งโดย
ผู้แทนจากประเทศสมาชิกของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ หรือ UNFCCC (United Nations Framework Convention on Climate Change)
ได้จัดประชุมเพื่อหาทางแก้ปัญหาโลกร้อนกันมาโดยตลอด
การประชุมนี้เรียกสั้นๆ ว่า COP (Conference Of the Parties)
ครั้งที่ดังหน่อยก็คือ COP 3 ที่โตเกียว ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของ ‘พิธีสารเกียวโต’
เวลาผ่านไป 14 ปี ก็ล่วงมาถึง COP 15 ที่โคเปนเฮเกน
ซึ่งกำลังประชุมกันอยู่ ในช่วงระหว่างวันที่ 7-18 ธันวาคมนี้
จุดที่ทำให้ COP 15 เป็นที่พูดถึงค่อนข้างมากก็คือ
ครั้งนี้จะเป็นการตัดสินใจว่า จะทำอย่างไรต่อไป หลังจากที่พันธกรณีแรกของพิธีสารเกียวโตจะสิ้นสุดลงในปี 2552 นี้

พิธีสารเกียวโตนั้นร่างขึ้นมาเมื่อสิบกว่าปีก่อน
ในวันที่ผลกระทบของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังไม่รุนแรงขนาดนี้
และผู้คนยังไม่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามากมายทั่วโลกอย่างนี้
ข้อกำหนดต่างๆ เลยร่างขึ้นมาอย่างแบ่งรับแบ่งสู้
ถึงวันนี้ มาตรฐานในการลดการปล่อย รวมถึงความเคร่งครัดของพิธีสารเกียวโต ถูกวิจารณ์กันมากว่า
ไม่น่าจะช่วยกอบกู้โลกได้ทันท่วงที
การประชุมครั้งนี้เลยพยายามหาข้อสรุปว่า การแก้ปัญหาในระดับโลกจะเคลื่อนยังไงต่อไป

ในห้องประชุมก็ประชุมกันไป
นอกห้องประชุม ก็มีประชาชน และองค์กรต่างๆ ออกมารวมตัวกันอย่างสันติ
เพื่อเรียกร้องให้ผู้นำของแต่ละประเทศที่กำลังนั่งอยู่ในห้องประชุม ช่วยหาทางแก้ปัญหาที่จริงจังหน่อย
ไม่ใช่มานั่งพูดประโยคสวยๆ ใส่กัน แล้วก็จากกันไปแบบไร้ทางออกที่นำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เหมือนอย่างครั้งที่ผ่านๆ มา
นั่นเลยนำมาซึ่งแคมเปญนี้มีชื่อว่า The World Wants a Real Deal
จัดกันทั่วโลกโดยองค์กรสิ่งแวดล้อมทั้งใหญ่ทั้งเลข ตัวเลขล่าสุด มีการจัดกิจกรรมชวนคนที่คิดเห็นตรงกันมารวมตัวกัน
2,723 แห่ง ใน 136 ประเทศ
ประเทศไทยของเราก็มีครับ
จัดโดย มูลนิธิโลกสีเขียว, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม
และเครือข่ายชาวกรุงเทพฯ ผู้ห่วงใยภาวะโลกร้อน
งานมีวันที่ 12 ธันวาคม 2552 เวลา 16.00-17.00 น. ที่ลานคนเมือง หน้าเสาชิงช้า
ทีมงานแจ้งว่า ถ้าเดินทาง และร่วมงานอย่างประหยัดพลังงานได้ทุกคน จะดีมากๆ

ผมเชื่อว่า หลายคนคงมีคำถามกับกิจกรรมแนวนี้ว่า ทำเพื่ออะไร
การนัดมารวมตัวกันจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้
ผมก็ไม่ทราบครับว่ามันจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้
แต่อย่างน้อยที่สุด ก็แสดงให้เห็นว่า คนกลุ่มหนึ่งเห็นว่าปัญหานี้เป็นเรื่องสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนในเชิงนโยบาย
แค่มารวมตัวกันเพื่อบอกสิ่งที่อยากบอก กับผู้ที่ควรได้รับทราบ
ปัญหานี้มีตัวตน
และผู้ที่อยากให้แก้ปัญหาก็มีตัวตน

กลับมาที่งานโฆษณาของ Moms Against Climate Change
ผมชอบประโยคสุดท้าย ซึ่งเล่าถึงที่มาว่าทำไมเด็กเหล่านี้ถึงมารวมตัวกันประท้วง
If our children knew ‘the fact’ we do, they’d take action.
Shouldn’t you?

รีบแก้ในสิ่งที่เราทำ
หรือจะรอให้คนที่ไม่ได้ทำลุกขึ้นมาแก้?


]]>
https://www.whyworldhot.com/globalads/the-world-wants-a-real-deal/feed/ 1
ใช้สมองมองโลก https://www.whyworldhot.com/globalads/159/ https://www.whyworldhot.com/globalads/159/#comments Tue, 18 May 2010 12:50:15 +0000 http://www.whyworldhot.com/globalads/159/

ไปเจอโปสเตอร์โฆษณาตัวหนึงมา

ถ้าดูๆไปเเล้ว โปสเตอร์ ก็เป็น โปสเตอร์ รณรงส์ภาวะโลกร้อนธรรมดา

ไม่ได้มีอะไรสะดุดตา

เเต่ผมกลับไปสะดุด กลับคำเเปลที่ พี่ก้อง ทรงกลด เขียน

ก็เลยอยากนำมาให้เพื่อนๆอ่านกันครับ

http://www.lonelytrees.net/?p=429

พออ่านจบเเล้ว ผมก็ได้ข้อคิดมาว่า

บางทีปัญหา เราก็มักจะเเก้โดยใช้ วิธีวัวหายล้อมคอก

โดยไม่ได้หาต้นเหตุของปัญหา

ข้อความ: “Climate change starts here.”
บริษัทโฆษณา:  imagine’ Amsterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์

โฆษณาชิ้นนี้พูดในสิ่งที่ผมคิดและเชื่อมาทั้งชีวิต
นั่นก็คือเรื่อง ทัศนคติ ของคน
เมื่อไหร่ก็ตามที่ผมถูกถามถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุด
หรือถามถึงทางแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ผมอยากแก้เป็นอันดับแรก
ผมไม่ลังเลที่จะตอบว่า ผมสนใจเรื่องทัศนคติของคนมากกว่าเรื่องอื่น
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือปัญหาโลกร้อนนั้นสลับซับซ้อน
ต่อให้เราปรับเปลี่ยนนโยบาย ปรับปรุงกฎหมาย
แต่เรายังไม่เห็นความสำคัญในการแก้ปัญหา
ยังไม่มองมันเป็นปัญหาที่เกิดจากมือเรา และเราต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ยังไงปัญหานี้ก็ไม่มีทางแก้ได้

แต่กลับกัน ถ้าทุกคนตระหนักรู้ว่า มันคือปัญหาสำคัญที่เราทุกคนสมควรร่วมกันแก้
แม้ว่าจะไม่มีกฎหมายสักฉบับออกมาบังคับใช้
ผมก็เชื่อว่าปัญหานี้น่าจะแก้ไขได้

ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม เรามักจะพูดถึงประโยคหนึ่งกันอยู่บ่อยๆ
นั่นก็คือ
It’s not in my backyard.
มันไม่ได้อยู่ในสนามหลังบ้านฉัน
โลกนอกรั้วบ้านไม่ใช่โลกของเรา เราไม่มีส่วนรับผิดชอบกับมัน
โดยที่เราลืมไปเสียสนิทว่า โลกใบนี้มีใบเดียว
ท่อน้ำทิ้งที่ต่อให้เลยเขตรั้วบ้านออกไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่เราต้องรับผิดชอบ
เราเปิดแอร์เย็นฉ่ำอยู่ในบ้าน ในขณะที่คอมเพรสเซอร์แอร์เป่าลมร้อนผ่าวใส่คนเดินถนน หรือคนข้างบ้าน
เราสุขสบายกับความเย็น และไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องรับผิดชอบกับความร้อนที่เราก่อ
ทัศนคติแบบนี้แหละครับที่ทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาลง

ปัญหาโลกร้อนเกิดขึ้นจากทัศนคติของคนที่เห็นแก่ความสบายของตัวเองเป็นหลัก
ไล่มาตั้งแต่โรงงานอุตสาหกรรมยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศพัฒนาแล้ว
มาถึงโรงงานยุคปัจจุบันในประเทศโลกที่สาม
และไลฟ์สไตล์ละลายทรัพยากรและพลังงานของคนทั่วโลก
ถ้าปัญหามันเริ่มต้นจากทัศนคติ
เราก็ควรจะแก้กันที่ตรงนั้น

ถุงผ้าไม่ใช่ทางแก้ปัญหาโลกร้อน
การปรับเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการใช้ทรัพยาการของคนต่างหาก
ผมคิดว่าอย่างนั้นนะครับ

เครดิต-คุณ ทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการ aday

]]>
https://www.whyworldhot.com/globalads/159/feed/ 2
คนนับหมื่นจากทั่วโลกร่วมกำหนดทางสู้โลกร้อนบนเกาะบาหลี https://www.whyworldhot.com/whyworldhot-site/latest-ipcc-conference/ https://www.whyworldhot.com/whyworldhot-site/latest-ipcc-conference/#comments Mon, 17 Dec 2007 11:57:09 +0000 http://www.whyworldhot.com/news/latest-ipcc-conference/ การประชุม IPCC

เอเอฟพี / เอพี ? เหล่าผู้แทนและนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกร่วมการประชุมโลกร้อนครั้งใหญ่ที่สุด โดยยูเอ็นโต้โผใหญ่หวังเกิดกระบวนการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว และสร้างสนธิสัญญาสากลใหม่เพื่อต่อสู้กับภัยสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ อันเป็นผลจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศให้ได้ภายในปี 2552

ผู้ร่วมประชุมจากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก บวกกับนักรณรงค์และผู้สื่อข่าว รวมแล้วกว่า 10,000 คนตอนนี้ กำลังรวมตัวอยู่บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และพวกเขาจะตั้งหลักอยู่นั่นถึง 11 วัน เพื่อร่วมการประชุมสหประชาชาติภายใต้กรอบอนุสัญญาแม่บทว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) ระหว่างวันที่ 3-14 ธ.ค.50

การประชุมที่บาหลีในครั้งนี้ นับเป็นสุดยอดแห่งความร่วมมือในการแก้ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงที่กำลังเข้าขั้นวิกฤติ โดยรายงานฉบับสุดท้ายอันเป็นสรุปสุดยอดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ก็จะมีการเปิดเผยกันในที่ประชุมแห่งนี้ พร้อมกับผลสรุปที่ว่าโลกเรามีเทคโนโลยีดีพอที่จะชะลอสภาวะโลกร้อน (global warming) แต่ต้องเดินหน้าอย่างเร่งด่วน

จุดหมายที่เร่งด่วนจากการประชุมครั้งนี้ ก็คือการเจรจาต่อรอเพื่อตั้งสนธิสัญญาฉบับใหม่ขึ้นแทนที่พีธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ที่กำลังจะหมดอายุลงในปี 2555 โดยจะต้องกำหนดวาระและเส้นตาย ซึ่งสหประชาชาติเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวจะต้องสรุปให้ได้ภายในปี 2552 จึงจะใช้งานต่อเนื่องจากพิธีสารเกียวโตได้ทันการณ์

อย่างไรก็ดี สหรัฐอเมริกาก็เป็นชาติที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษเช่นเคย และการปฏิเสธเข้าร่วมพิธีสารเกียวโตของพญาอินทรี อาจทำให้ถูกตัดออกจากการเจรจาสัญญาต่อจากนี้ ซึ่งอเมริกายังคงอ้างเช่นเดิมว่าการลดปริมาณการปล่อยก๊าซก่อเรือนกระจกตามข้อตกลงในพิธีสารนั้น จะมีผลต่อเศรษฐกิจ อีกทั้งยังตั้งคำถามต่อข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่นำเสนอปรากฏการณ์โลกร้อน

ทั้งนี้ หัวข้อถกเถียงส่วนใหญ่คือประเด็นการลดการปล่อยก๊าซก่อเรือนกระจกจะมากน้อยเท่าใดนั้นควรมีมาตรการบังคับ (อย่างในพิธีสาร) หรือตามความสมัครใจ (อย่างที่สหรัฐฯ ต้องการ) และควรจะหมายรวมถึงประเทศกำลังพัฒนาที่มีอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็วอย่างจีน อินเดีย และบราซิล รวมเข้าไปด้วย อีกทั้งจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือประเทศยากจนให้ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่เลวร้ายอย่างทุกวันนี้

ข้อมูลจากรายงานของไอพีพีซี ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก แนะนำว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ ที่เก็บกักความร้อนจนก่อสภาวะเรือนกระจกจะต้องมีการปลดปล่อยในปริมาณที่เสถียรภายในปี 2558 และจากนั้นหากลดลงไม่ได้ก็จะเกิดภาวะที่ร้ายแรง

การแก้ปัญหาที่ทำได้ในขณะนี้ตามข้อแนะนำของไอพีซีซีคือ ลงทุนกับพลังงานหมุนเวียนเพื่อปรับปรุงการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และถ้าไม่ทำอะไรเลย อุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ (ซึ่งมากถึง 1 ใน 3) และอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

ทว่าทั้งหมดนี้ต้องอาศัยนโยบายทางการเมืองของแต่ละประเทศเข้าช่วย

ตลอดระยะเวลาแห่งการประชุมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน รัฐบาลของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐฯ ส่งสัญญาณที่จะต่อรองความร่วมมือต่างๆ ตรงกันข้ามกับพิธีสารตลอดมา ทั้งๆ ที่ยูเอ็นต้องการให้พญาอินทรีให้ความร่วมมือ และการเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ เป็นวงใหญ่เมื่อดำเนินไปพร้อมกับรัฐบาลของออสเตรเลียที่มีนายจอห์น โฮเวิร์ดเป็นนายกรัฐมนตรี

แต่ในการประชุมครั้งนี้ สหรัฐฯ ต้องโดดเดี่ยว เพราะเควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของออสเตรเลีย ที่เพิ่งสาบานตนรับตำแหน่งไปไม่กี่วัน นอกจากจะประกาศแสดงเจตนารมณ์เข้าร่วมพิธีสารเกียวโตแล้ว ในวันแรกของการประชุมที่บาหลี ผู้แทนของออสเตรเลียได้ลงนามในพิธีสารเป็นที่เรียบร้อย

พิธีสารเกียวโตเป็นข้อตกลงร่วมกันในประเทศที่ลงนามมากว่า 10 ปี โดยเรียกร้องให้ประเทศอุตสาหกรรม 36 ชาติลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซก่อเรือนกระจกอื่นๆ ที่มาจากโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งเกษตรกรรมและการคมนาคมให้ได้ภายในปี 2555 โดยเฉลี่ย 5% จากระดับในปี 2533

Credit

]]>
https://www.whyworldhot.com/whyworldhot-site/latest-ipcc-conference/feed/ 11
กทม. เตรียม ปิดไฟ 15 นาที 6 จุดหลัก เริ่มต้นรณรงค์ ลด โลกร้อน https://www.whyworldhot.com/global-warming/bangkok-turn-off-the-light/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/bangkok-turn-off-the-light/#comments Wed, 09 May 2007 11:39:31 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/bangkok-turn-off-the-light/ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชวนชาว ก.ท.ม.ร่วมรณรงค์ลด ปัญหา ภาวะโลกร้อน ด้วยการปิดไฟวันละ 15 นาที ณ สวนลุมพินี ทั้งนี้จะมีการประเดิมปิดไฟ สถานที่ ป้าย และไฟประดับต่างๆ ใน 6 จุดหลักของกรุงเทพฯ

วันนี้(7พ.ค.)นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในวันพุธที่ 9 พฤษภาคมนี้ กรุงเทพมหานคร จะร่วมลงนามปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการลด ปัญหา ภาวะโลกร้อน ณ สำนักงานองค์การสหประชาชาติ พร้อมจัดงาน “หยุดเพิ่ม ความร้อน ใส่กรุงเทพฯ”โดยเป็นความร่วมมือจากประชาชน ภาคเอกชน และองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมกิจกรรมปิดไฟ 15 นาที เพื่อกรุงเทพฯ ของเรา

โดยกรุงเทพมหานครจะ ปิดไฟ ในส่วนของไฟอาคาร สถานที่ ป้าย และไฟประดับต่างๆ ใน 6 จุดหลักของกรุงเทพฯ คือ ถนนเยาวราช ข้าวสาร สีลม รามคำแหง รัชดาภิเษก และถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ในเวลา 19.00 – 19.15 น. เพื่อเป็นสัญญาณแห่งการเริ่มต้น การ รณรงค์ และ ปฏิบัติการ แก้ ปัญหาโลกร้อน โดยมีศูนย์กลางการจัดงานที่ลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงที่มีประชากรมากถึง 12 ล้านคน ปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สูงกว่าร้อยละ 40 ของก๊าซทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศ จึงเชื่อว่าหากประชาชนร่วมกัน ปิดไฟ เพียงวันละ 15 นาที จะช่วย ลดก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ได้เป็นจำนวนมาก

ปล.ส่วนตัวชอบโครงการนี้มากๆครับ อยากให้ประเทศไทย หรือ กทม เป็นแกนนำในการรณรงค์เรื่อง ภาวะโลกร้อน มานานละ ชื่นชมครับชื่นชม

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/bangkok-turn-off-the-light/feed/ 6
UN จัดประชุม ผู้เชี่ยวชาญ ที่ กทม. https://www.whyworldhot.com/global-warming/ipcc-global-warming-at-bangkok/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/ipcc-global-warming-at-bangkok/#comments Sun, 29 Apr 2007 14:03:30 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/ipcc-global-warming-at-bangkok/ เอเอฟพี ? บรรดา ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเข้าร่วมการประชุมเป็นเวลา 5 วันตั้งแต่วันจันทร์ (30) นี้ที่ กรุงเทพฯ อันจัดขึ้นโดยหน่วยงานด้าน ความเปลี่ยนแปลง ของ บรรยากาศ ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดของ สหประชาชาติ เตรียมที่จะเสนอต่อบรรดาผู้นำของโลกว่า ช่องทางโอกาสที่จะ แก้ปัญหาโลกร้อน ด้วยการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก นั้น กำลังหดแคบลงทุกทีแล้ว อย่างไรก็ตาม เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับทำงานนี้มีอยู่แล้วพรักพร้อม และ ค่าใช้จ่าย ก็ยังอยู่ในระดับ ไม่แพง

ด้วยการผสมผสานนโยบายและเทคโนโลยีต่างๆ อย่างฉลาดหลักแหลม ค่าใช้จ่ายในการประคับประคองระดับ ไอเสีย เรือนกระจก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกสาร คาร์บอน อย่างเช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้คงที่อยู่ใกล้แถวๆ 75% เหนือระดับในปัจจุบัน ภายในปี 2030 นั้น จะต้องใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน (จีดีพี) ของโลกเพียงแค่ 0.2%

แต่ถ้าต้องการทำให้ดีกว่านั้น นั่นคือ ให้มีการปล่อยไอเสีย คาร์บอน คงที่ในระดับสูงกว่าปัจจุบันเพียงราวๆ แค่ 50% แล้ว ก็จะใช้จีดีพีโลกประมาณ 0.6%

สถานการณ์สมมุติเหล่านี้ ที่ได้จากการศึกษาคาดคำนวณของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ กำลังถูกร่างบรรจุไว้ในรายงานฉบับหนึ่ง ซึ่งจะนำออกเผยแพร่ที่กรุงเทพฯ ในวันศุกร์ (4พ.ค.) อันเป็นวันสุดท้ายในการประชุมซึ่งจัดโดย คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ (ไอพีซีซี) หน่วยงานของ ยูเอ็น ซึ่งได้รับความเชื่อถือว่าเชี่ยวชาญที่สุดเรื่อง โลกร้อน

อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่ายังจะมีการอภิปรายถกเถียงกันอย่างดุเดือด ระหว่างที่เหล่าผู้แทนของชาติสมาชิกต่างๆ ประชุมกันเป็นการภายใน เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน โดยเฉพาะในส่วนบทสรุปย่อสำหรับผู้บริหารของรายงานฉบับนี้ ซึ่งจะมีอิทธิพลสำคัญยิ่งต่อบรรดาผู้กำหนดนโยบายในทั่วโลก

ประเด็นซึ่งคงเกิดการโต้เถียงกันหนัก มีอาทิ เพดานสูงสุดระดับ คาร์บอนไดออกไซด์ ที่จะยอมให้ปล่อยสู่ บรรยากาศ ได้, ภาษีที่จะจัดเก็บจากการปล่อย ไอเสีย คาร์บอน, ตลอดจนการเอ่ยพาดพิงถึง พิธีสารเกียวโต ซึ่งประเด็นหลังนี้ถือเป็นของแสลงสำหรับ ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช

นอกจากนั้น ยังอาจมีการทะเลาะกันในประเด็นอย่างเช่น จะเสนอแนะให้ใช้ พลังงานนิวเคลียร ์เป็นทางเลือกหนึ่ง ทดแทนการใช้ เชื้อเพลิงฟอสซิล จากพวก น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซ และ ถ่านหิน หรือไม่ ตลอดจนประเด็นเรื่อง การเก็บกัก คาร์บอน อันเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งผุดขึ้นใหม่ๆ ซึ่งเสนอว่าอาจเป็นไปได้ที่จะ แก้ปัญหา ด้วยการนำเจ้า ก๊าซเรือนกระจก ไปเก็บไว้ใต้ดินลึกๆ

รายงานที่จะออกที่ กรุงเทพฯ นี้ ถือเป็นตอนสุดท้ายของรายงานรวม 3 ตอนของ ไอพีซีซี ซึ่งมุ่งปรับปรุงเพิ่มพูนความรู้ด้าน การเปลี่ยนแปลง ของ บรรยากาศโลก ให้ทันสมัยที่สุด โดยอาศัยงานศึกษาวิจัยของ นักวิทยาศาสตร ์ในทั่วโลก 2,500 คนเป็นพื้นฐาน

ในรายงานตอนสุดท้ายนี้ จะระบุ นโยบาย, เทคโนโลยี, และมาตรการที่จะชะลอหรือกระทั่งยุติ ภาวะโลกร้อน ได้ในที่สุด

ร่างรายงานซึ่ง เอเอฟพี ได้รับมา ยังไม่ได้ถึงขั้นยื่นข้อเสนอแนะอะไร แต่บอกว่าเหลือเวลาให้สูญเปล่าไปน้อยเต็มทีแล้ว

ขณะเดียวกัน ร่างรายงานก็ชี้ว่า หนทางและเครื่องมือที่จะสู้ ปัญหา ไอเสีย นั้น เรามีกันอยู่ในมือแล้วหรือไม่ก็กำลังจะได้มาในเร็ววันนี้

ทางเลือกเหล่านี้มีอาทิ การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไม่ว่าในการก่อสร้าง อุตสาหกรรม หรือการขนส่ง, การใช้กลไกทาง เศรษฐกิจ หรือการคลังเพื่อกระตุ้นส่งเสริม พลังงาน ซึ่งนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อาทิ ลม แสงอาทิตย์ และ ความร้อนใต้พิภพ, การให้แรงจูงใจใน ภาคป่าไม้ และ การเกษตร ซึ่งรวมแล้วเป็นตัวปล่อย ก๊าซเรือนกระจก กว่า 30% ของยอดรวมทั้งหมด

วิธีที่จะลดการปล่อย ไอเสีย คาร์บอน ได้มากๆ อีกวิธีหนึ่งได้แก่ การกำหนด มาตรฐาน ที่เข้มงวดขึ้นสำหรับ อาคารบ้านเรือน, ยานพาหนะ ที่ใช้ เครื่องยนต์, และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งหลาย

อย่างไรก็ดี สาระสำคัญของ มาตรการ ทั้งหมด เหล่านี้ ได้แก่ การสร้าง ?ราคาคาร์บอน? ขึ้นมา หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือการผ่องถ่ายค่าใช้จ่ายด้าน มลพิษไปให้แก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคแบกรับ เพราะนั่นจะเป็นแรงจูงใจอันทรงพลังให้เกิด เทคโนโลยี ใช้ พลังงาน อย่างทรง ประสิทธิภาพ และปล่อย ไอเสีย คาร์บอน ต่ำ

ร่างรายงานชี้ว่า ยิ่งราคา คาร์บอน สูง ก็ยิ่งมีศักยภาพใน การลด การปล่อยไอเสีย เป็นต้นว่า หาก ราคาคาร์บอน นี้ถูกกำหนดให้อยู่ในระดับตันละ 20 ดอลลาร์ นั่นคือ ผู้ผลิต และ ผู้บริโภค ต้องเฉลี่ยรับภาระกันไปในระดับนี้แล้ว จะทำให้ลดการปล่อย ไอเสีย คาร์บอน ได้ระหว่าง 9,000 ? 18,000 ล้านตันต่อปี หรือถ้าราคาพุ่งเป็นตันละ 100 ดอลลาร์ ก็จะลด การปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ได้ 16,000 ? 30,000 ล้านตันต่อปีทีเดียว

ทว่าเรื่องที่ดีสำหรับ สิ่งแวดล้อม อาจขัดแย้งกับ ภาวะเศรษฐกิจ ที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในเมื่อ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซ และ ถ่านหิน ยังน่าจะเป็นแหล่ง พลังงานหลักของโลก ไปอีกหลายสิบปี ทั้งนี้ตามการศึกษาของ สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ(ไออีเอ)

เหล่า นักเศรษฐศาสตร์ โต้แย้งว่า ถ้า ราคาคาร์บอน ขึ้นสูงไปและเร็วไป พวกเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพิง เชื้อเพลิงฟอสซิล ก็มีหวังพังพาบเป็นแถวๆ

Credit : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000048658

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/ipcc-global-warming-at-bangkok/feed/ 7
รายงานโลกร้อนชี้ เหลือเวลาแก้ปัญหาอีกไม่มาก https://www.whyworldhot.com/global-warming/little-time-to-solve/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/little-time-to-solve/#comments Sat, 21 Apr 2007 04:41:48 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/little-time-to-solve/ เอเจนซี – แม้การต่อสู้กับ ปัญหาโลกร้อน จะไม่เสียค่าใช้จ่ายมากนัก แต่รัฐบาลต่างๆ เหลือเวลาอีกเพียงน้อยนิดเท่านั้นที่จะหลบเลี่ยงสภาวะ อุณหภูมิ เพิ่มสูงอันจะก่อความเสียหายได้

ร่างรายงานขององค์การสหประชาชาติซึ่งมีกำหนดออกเผยแพร่ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 4 พ.ค. ชี้ว่า ภาวะโลกร้อน กำลังทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม ซึ่งสหภาพยุโรปเห็นว่าเป็นระดับอุณหภูมิที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติ “อย่างน่าอันตราย”

รายงานนี้ถือเป็นส่วนที่ 3 ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของ ภูมิอากาศ (The Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ที่ออกมาในปี 2007 เนื้อหาของรายงานส่วนนี้เน้นหนักไปที่เหตุการณ์จำลอง 2 เหตุการณ์ โดยบอกว่า การจำกัดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก อาจมีค่าใช้จ่ายเท่ากับ 0.2% หรือ 0.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)ทั่วโลก ในปี 2030

บางตัวอย่างชี้ให้เห็นว่า มาตรการต่างๆ เป็นต้นว่า การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมันและถ่านหิน อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโลกได้เล็กน้อยด้วยซ้ำไป

สำหรับสถานการณ์จำลองแบบเข้มงวดที่สุด ซึ่งรัฐบาลต่างๆจะต้องแน่ใจว่าการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ทั่วโลกจะเริ่มลดลงภายในเวลา 15 ปี จะต้องเสียค่าใช้จ่าย 3% ของจีดีพีโลกภายในปี 2030

ข้อสรุปของรายงานฉบับนี้สอดคล้องกับรายงานเมื่อปีที่แล้วของนิโคลัส สเติร์น (Nicholas Stern) อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก ที่ประเมินว่า ค่าใช้จ่ายในการลงมือชะลอ ภาวะโลกร้อน ในตอนนี้ อยู่ที่ประมาณ 1% ของจีดีพีโลก เทียบกับตัวเลขที่สูงถึง 5-20% ในอนาคต ถ้าพวกเรายังไม่รีบลงมือ

วิธีการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ที่ทำได้ง่าย ตามที่เสนอไว้ในร่างรายงานฉบับนี้ ได้แก่ การใช้พลังงานฟอสซิลให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้, เปลี่ยนมาใช้พลังงานรูปแบบอื่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ หรือ พลังงานนิวเคลียร์ ตลอดจน จัดการ การ ปลูกป่า และการทำเกษตรกรรมให้ดีกว่านี้

ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจนอกเหนือจากการประหยัดพลังงานก็คือ สุขภาพ จะดีขึ้นเนื่องจาก มลพิษ น้อยลง, ภาค เกษตรกรรม เสียหายจาก ฝนกรด น้อยลง และมี ความมั่นคง ด้าน พลังงาน เพิ่มมากขึ้น เพราะมีการลดการนำเข้า พลังงาน

เหตุการณ์จำลองในการยอมเสียจีดีพีแค่ 0.2% ในปี 2030 เพื่อแก้ ปัญหาโลกร้อน จะรักษาระดับ ก๊าซเรือนกระจก ในชั้นบรรยากาศในปี 2030 ให้อยู่ที่ 650 ส่วนต่อล้านส่วน (ppm) ซึ่งสูงกว่าระดับปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 430 ppm

“การประมาณแบบเจาะจงที่สุด” ชี้ให้เห็นว่า นั่นอาจทำให้ อุณหภูมิ เพิ่มสูงขึ้น 3.2-4.0 องศาเซลเซียส จากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ยิ่งมีมาตรการที่รัดกุมและลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ได้มาก ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

โดยในกรณีที่มีมาตรการเข้มงวดที่สุด ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่าย 3% ของจีดีพี จะสามารถจำกัดปริมาณ ก๊าซเรือนกระจก ลงไปอยู่ที่ 445-535 ppm ภายในปี 2030 ซึ่งน่าจะทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2-2.4 องศาเซลเซียส

ด้าน บันคีมุน เลขาธิการใหญ่ยูเอ็น กล่าวกับ นสพ.ไฟแนนเชียลไทมส์ว่า ยูเอ็นกำลังพิจารณาให้จัดการประชุมระดับสูงเรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภายในปีนี้ ซึ่งอาจนำไปสู่การประชุมระดับผู้นำสุดยอดได้ในปี 2009

การประชุมระดับสูง ซึ่งน่าจะมีรัฐมนตรีและผู้แทนระดับท็อปเข้าร่วม เป็น “หนทางที่ปฏิบัติได้และเป็นไปได้จริง”มากที่สุด บันกล่าว

การประชุมนี้ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นใกล้ๆกับการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติที่นิวยอร์กในเดือนกันยายน “อาจได้แนวทางปฏิบัติชัดเจนเพื่อประชุมในเดือนธันวาคมที่บาหลีก็เป็นได้” บันกล่าว ซึ่งการประชุมที่บาหลีนั้นเป็นการประชุมของยูเอ็นเกี่ยวกับเรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

หากการประชุมระดับสูงในเดือน ก.ย.ประสบความสำเร็จ “จะต้องมีการพูดคุยเกี่ยวกับการประชุมระดับผู้นำสุดยอดในภายหลัง” บันกล่าวกับไฟแนนเชียลไทมส์ “อาจเป็นปี 2008 หรือ 2009”

Credit : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000044188

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/little-time-to-solve/feed/ 2
ภาวะโลกร้อน ระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ https://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/global-warming-timebomb/ https://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/global-warming-timebomb/#comments Sun, 15 Apr 2007 16:19:41 +0000 http://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/global-warming-timebomb/ ตัดต่อและเรียบเรียงจาก ?CARBON CREDIT โลกสีดำจาก พิธีสารเกียวโต? ตีพิมพ์ครั้งแรกใน นิตยสาร a day weekly ฉบับที่ 043 ประจำวันที่ เขียนโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล
เรียบเรียงโดย สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์

?ระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น อุณหภูมิสูงขึ้น ธารน้ำแข็งละลาย มหาสมุทรร้อนขึ้นระดับน้ำทะเลสูงขึ้น น้ำแข็งทะเลบางลง ชั้นดินเย็นแข็งคงตัวละลาย เกิดไฟป่าบ่อยขึ้น ทะเลสาบเล็กลง หิ้งน้ำแข็งพังทลาย ทะเลสาบจับตัวเป็นน้ำแข็งช้าลง แห้งแล้งยาวนาน ธารน้ำในเขตภูเขาเหือดแห้ง ปริมาณหยาดน้ำฟ้าเพิ่มขึ้น ฤดูหนาวไม่หนาวจัด ฤดูใบไม้ผลิมาถึงเร็วขึ้น ฤดูใบไม้ร่วงมาถึงช้าลง ต้นไม้ออกดอกเร็วขึ้น ช่วงเวลาอพยพเปลี่ยนแปลง ถิ่นอาศัยเปลี่ยนไป นกทำรังเร็วขึ้น โรคภัยไข้เจ็บลุกลาม ปะการังฟอกขาว การทับถมของหิมะลดลง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหายไป พืชและสัตว์ต่างถิ่นรุกราน แนวชายฝั่งสึกกร่อน ป่าในเขตภูเขาสูงแห้งแล้ง อุณหภูมิในเขตละติจูดสูงพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว?เกิดอะไรขึ้นกับโลกกันแน่?

นี่เพียงแค่บทเกริ่นนำของบทความไตรภาค ?มหันตภัยแห่งอนาคต: สัญญาณเตือนภัยจากปรากฏการณ์ โลกร้อน ?ในเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิค ชี้ให้เห็น ภาวะโลกร้อน ที่มีมนุษย์เป็นสาเหตุสำคัญ

และในขณะนี้ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในธรณีกาล กลับใช้เวลาเพียงชั่วอายุคนเท่านั้นเอง

ขณะที่นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก พยายามชี้ให้เห็นถึงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ผิดปกติ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ทุกคนตระหนักในปัญหาที่ตัวเองมีส่วนร่วมก่อ โดยเฉพาะการบริโภคแบบ ?สุด สุด? ที่ทำให้ต้องขุดพลังงานฟอสซิลทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินขึ้นมาใช้ อันเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะเรือนกระจก และเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยด่วน ก่อนที่จะสายเกินแก้

ด้าน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือสูงมาก และหากไม่ถึงขั้นวิกฤต คงไม่ออกมาเตือนว่า สภาพอากาศของ พ.ศ. 2546 ทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชียมีความเลวร้ายอย่างน่าตระหนก สภาพอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีทั้งที่อุณหภูมิที่สูงสุดและต่ำสุด ปริมาณฝนมากที่สุด และเกิดพายุมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในหลาย ๆ ส่วนของโลก ซึ่งสอดคล้องกับการพยากรณ์เกี่ยวกับ ปัญหาโลกร้อน

เช่นเดียวกับรายงานลับที่เพนตากอนส่งถึงประธานาธิบดีบุช เมื่อต้นปี 2547 ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของโลกในอีก 20 ปีนับจากนี้จะเป็นหายนะครั้งใหญ่ของโลกยิ่งกว่าภัยจากการก่อการร้าย จะคร่าชีวิตผู้คนหลายล้านทั้งจากภัยธรรมชาติและสงครามเพื่อความอยู่รอด เมืองใหญ่ในยุโรปจะตกอยู่ในสภาวะอากาศแบบไซบีเรีย หลายเมืองสำคัญที่อยู่ริมฝั่งน้ำจะจมน้ำ เกิดความแห้งแล้งและอดอยาก จนนำไปสู่การจลาจลและสงครามในที่สุด

กระนั้น คำเตือนของผู้เชี่ยวชาญระดับโลกทั้ง 2 ชิ้น ก็ไม่ได้ทำให้ผู้นำประเทศสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย 2 ประเทศมหาอำนาจที่ใช้พลังงานมากที่สุดในโลก คือรวมกันมากกว่า 1ใน4 ของโลกเปลี่ยนท่าที

พิธีสารเกียวโต: ความหวังครั้งใหม่?

ภายหลังการลงนามในอนุสัญญา ให้มีผลบังคับใช้ของพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nation Framework Convention on Climate Change, UNFCCC) หลังจากที่เจรจายาวนานกว่าค่อนทศวรรษ

ศรีสุวรรณ ควรขจร เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ซึ่งเฝ้าสังเกตการณ์การเจรจานับตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ระบุว่า ?ชาวโลกยังคาดหวังมันเกินฐานะที่เป็นจริง?

จากความมุ่งหวังอย่างยิ่งยวดที่จะให้ทุกประเทศต้องร่วมรับผิดชอบลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ แต่เป้าหมายกลับต่ำเตี้ยเพียงว่า ในช่วงที่หนึ่ง (ภายในปี 2555) กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนมากปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาแต่ครั้งปฏิวัติอุตสาหกรรม จนถึงปัจจุบันนานนับศตวรรษ จะต้องเป็นผู้นำการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงเพียง 5.2 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ตนปล่อยในปี 2533 ส่วนประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเริ่มปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไม่กี่ทศวรรษมานี้ ค่อยไปร่วมรับผิดชอบลดการปล่อยในช่วงที่สอง ซึ่งยังไม่รู้ว่าเมื่อไร

ทั้งที่ นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายมีข้อสรุปกันมาหลายปีก่อนการประชุมสุดยอดทางสิ่งแวดล้อม ได้ระบุว่า หากมนุษยชาติจะหลีกเลี่ยงหายนะภัยทางสิ่งแวดล้อมอันเป็นผลมาจากปรากฏการณ์เรือนกระจกให้ได้นั้น ปริมาณการปล่อยต้องลดลงถึง 70-80% ไม่ใช่เพียงแค่ 5-6 % และต้องดำเนินการโดยเร็ว คือภายใน 1 – 2 ปีนี้ ไม่ใช่ค่อย ๆ ลดในอีกหลายสิบปีข้างหน้า

แต่หลายปีที่ผ่านมา ?ในการเจรจาต่อรองที่กลุ่มประเทศต่าง ๆ ต้องชิงไหวชิงพริบเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตน โดยประเทศอุตสาหกรรมเป็นฝ่ายได้เปรียบด้วยความเหนือกว่า (ประเทศกำลังพัฒนา) ในกระบวนการเจรจาต่อรอง บวกกับอิทธิพลของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมสูง เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ที่เริ่มเข้ามาครอบงำกระบวนการของการประชุม?

ผลที่ได้คือ เนื้อหาในพิธีสารที่อ่อนปวกเปียก และมองประเด็นการสร้างภาระต่อบรรยากาศที่ไม่เท่าเทียมกันนี้ว่าเป็นเรื่องชอบธรรม เพราะเขา ?รวย? เขาจึงมี ?สิทธิ? ทำได้ นั่นคือ อนุญาตให้ใครจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เท่าไหร่ก็ได้ ตราบเท่าที่เขาสามารถไปซื้อ ?คาร์บอนเครดิต? ที่เกิดจากการดูดกลับคาร์บอนด้วยวิธีการบางอย่าง หรือที่ในพิธีสารเรียกว่า กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) เช่น การปลูกต้นไม้ซึ่งอ้างว่าจะดูดคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปเป็นเนื้อไม้หรือใบไม้ ดังนั้น โรงไฟฟ้าถ่านหินอยากจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ล้านตันต่อปีก็ปล่อยไป ตราบเท่าที่โรงไฟฟ้านั้นปลูกต้นไม้หลายพันต้น

วิธีการที่ว่านี้ไม่เพียง ?ไม่แก้ปัญหา? แต่ยังเพิ่ม ?ความอยุติธรรม? ด้วยการปล่อยให้ประเทศและคนที่ใช้พลังงานอย่างบ้าคลั่งลอยนวล โดยไม่ได้สร้างความตระหนักรู้ให้ผู้บริโภคว่า เขาต้องลดการใช้พลังงาน หากต้องการเห็นโลกดีขึ้น เพื่อลูกหลานในวันข้างหน้า แต่การปลูกต้นไม้นี้กลับนำไปสู่ปัญหาเรื่องการยื้อแย่งที่ดินและน้ำ โดยเฉพาะในประเทศซีกโลกใต้

ในเมื่อประเทศรวยอยาก ?ผลาญ? ต่อ ประเทศยากจนก็อยากได้เงินจากการขายคาร์บอนเครดิต สิ่งที่เราจะเห็นในไม่ช้าก็คือ รัฐบาลประเทศที่จ้องจะขายคาร์บอนเครดิตจะไล่คนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นออกจากแผ่นดินของตัวเอง ตัดป่าธรรมชาติเพื่อสร้างสวนป่าด้วยไม้ตัดต่อพันธุกรรม ระบบนิเวศถูกตัดตอนลดความซับซ้อน ความหลากหลายทางชีวภาพถูกทำลาย ฯลฯ

Carbon Trade Fair

?คาร์บอนกำลังจะเป็นสินค้าสุดฮอตในตลาดโลก และจะเป็นสินค้าที่มีตลาดใหญ่ที่สุดด้วย? นี่จึงไม่ใช่การวิเคราะห์ที่เกินเลยจากความเป็นจริง ผู้ที่ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมประชุมเกี่ยวเนื่องกับสาระของพิธีสารเกียวโตหลายครั้ง ต่างบรรยายความรู้สึกตรงกันว่า ไม่ใช่เวทีประชุมเพื่อแก้ปัญหา ภาวะโลกร้อน อีกต่อไปแล้ว แต่มันเป็นมหกรรมแสดงสินค้าที่เรียกว่า ?คาร์บอน? หรือ Carbon Trade Fair มากกว่า

กลุ่มเครือข่ายผู้สนับสนุนสิ่งเหล่านี้ต่างคุยว่า ด้วยโครงการปลูกป่าเพื่อ ?คาร์บอนเครดิต? จะเป็นการเพิ่มการลงทุนในชนบท ซึ่งสามารถช่วยลดความยากจนได้ ผู้อ่านลองไปดูกันเลยดีกว่าว่า ?การหากินกับอากาศ? ครั้งนี้ ใครได้ประโยชน์กันบ้าง

บรรษัทอุตสาหกรรม ซึ่งล้วนมีพฤติกรรมและการลงทุนผูกติดอยู่กับการทำเหมืองและการบริโภคเชื้อเพลิงฟอสซิล พยายามขวางไม่ให้ตัวแทนสหรัฐผูกมัดตัวเองเข้ากับการลดการปล่อยแม้เพียงปริมาณน้อยนิด โดยในการเจรจาพิธีสารเกียวโต บรรดาบรรษัทเหล่านี้สั่งให้ตัวแทนสหรัฐและประเทศร่ำรวยอื่น ๆ ยืนยันที่จะต้องมีสิ่งแลกเปลี่ยน คือการยอมให้มีการแลกเปลี่ยนค้าขายสิทธิหรือเครดิตในการปล่อยได้ เพื่อเป็นหนทางหนึ่งที่จะลดให้ได้ตามเป้าหมาย พวกเขาให้เหตุผลว่า อย่างน้อยนี่จะเป็นการถ่วงเวลาหรือหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำธุรกิจ

บริษัทผลิตไฟฟ้า มองการปลูกป่าว่า เป็นวิธีการราคาถูก และง่ายที่จะโน้มน้าวให้เจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้บริโภคเห็นว่า พวกเขากำลังลดอยู่ คณะกรรมการผลิตไฟฟ้าของเนเธอร์แลนด์ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในการดำเนินโครงการปลูกป่าไม้ซุงในรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย และการปลูกป่าสนและยูคาลิปตัสในเทือกเขาแอนดีสของเอกวาดอร์ โตเกียวอีเล็คตริคพาวเวอร์กำลังปลูกต้นไม้ในนิวเซาธ์เวลส์ ดีทรอยท์เอดิสันกำลังทำในอเมริกากลาง และซาสก์พาวเวอร์ของแคนาดากับแปซิฟิกพาวเวอร์ของออสเตรเลียก็กำลังทำอยู่ในประเทศของตัวเอง (อย่าไปถามว่าพวกนี้ได้ที่ดินในการปลูกป่ามาอย่างไร พวกเขาทำลายป่าธรรมชาติก่อนสร้างสวนป่าหรือไม่ และมีผลกระทบอะไรบ้าง)

บริษัทพลังงาน ขาใหญ่อีกราย พวกเขายืนยันที่จะผลาญพลังงานต่อไป โดยหวังไถ่บาปด้วยการปลูกป่าแทน บริษัทอเมริกันที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้เซ็นสัญญามูลค่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐกับคอสตาริกา ที่จะจ้างชาวนาให้ปลูกต้นไม้และดูแลเป็นเวลา 15-20 ปี อเมราดาแก๊สกำลังจะได้รับยี่ห้อ ?Climate Care? จากการปลูกป่าที่อูกันดา, ซันคอร์อีเนอร์จี (บริษัทขุดเจาะ กลั่นและขายน้ำมันของแคนาดา) วางแผนที่จะร่วมกับเซาเธิร์นแปซิฟิกปิโตรเลียมและเซ็นทรัลแปซิฟิกมิเนอรัลส์ในโครงการปลูกต้นไม้พื้นเมืองมากกว่า 180,000 ต้นในรัฐควีนส์แลนด์เพื่อ ?ชดเชย? กับคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะปล่อยออกมาในอนาคต

บริษัทรถยนต์ หวังได้ภาพลักษณ์สีเขียวโดยการปลูกต้นไม้ ในอังกฤษ ลูกค้าที่ซื้อรถมาสดารุ่นเดมิโอจะได้โบนัสพิเศษ คือบริษัทจะปลูกต้นไม้ 5 ต้นเพื่อ ?ชดเชย? ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะรถปล่อยออกมาในปีแรก ดังนั้นลูกค้ามีสตางค์ก็ไม่เพียงแต่มีส่วนในการขุดเจาะ กลั่นน้ำมัน ทำเหมืองโลหะกับช่วยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการไล่รื้อที่ดินเพื่อใช้ในการปลูกป่าที่พวกเขาอาจไม่เคยได้เห็นอีกด้วย

บริษัทนายหน้าและธนาคาร คาดหวังที่จะได้ค่าคอมมิสชั่นจากการเป็นนายหน้าตามตลาดคาร์บอนที่จะเปิดในชิคาโก ลอนดอนกับซิดนีย์ องค์กรอย่างสหพันธ์กักเก็บคาร์บอนนานาชาติและอเมริกันฟอร์เรสท์ก็กำลังวางแผนการตลาดค้าคาร์บอนเครดิต ธนาคารอย่างยูเนียนแบงก์ของสวิตเซอร์แลนด์ก็กำลังรอปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการปลูกป่า

บรรดานักวิชาการเพื่ออุตสาหกรรม แนวโน้มต่าง ๆ เหล่านี้ได้เปิดโอกาสให้มีการตั้งสถาบัน สร้างงานและเกียรติยศให้กับมืออาชีพจำนวนมากมายที่อยากทำวิจัย รับรอง และบริหารโครงการปลูกป่า บริษัทที่ปรึกษาต่าง ๆ สามารถกอบโกยผลประโยชน์ในการตรวจสอบและรับรองโครงการเหล่านั้น

องค์กรโลกบาล วางแผนที่จะกอบโกยจากการค้าคาร์บอน โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างการเมืองที่มีอยู่ในมือ ยกตัวอย่าง ธนาคารโลกหวังประโยชน์ 2 ทางจากการสนับสนุนการพัฒนาเชื้อเพลิงฟอสซิลในประเทศกำลังพัฒนา แล้วก็คอย ?เก็บกวาด? ทีหลังจากโครงการปลูกป่า แล้วก็ยังใช้เงินทุนสนับสนุนจากบริษัทไฟฟ้ากับรัฐบาลยุโรปเหนือเพื่อพัฒนา ?กองทุนคาร์บอนต้นแบบ? (Clean Development Fund-CDF) ที่มีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ ?ตลาดก๊าซเรือนกระจกของโลก? และมีโครงการต่าง ๆ สำหรับประเทศทางใต้อยู่เต็มมือ โดยวางแผนจะผลักดันให้มีธนาคารคาร์บอนหรือตลาดแลกเปลี่ยนคาร์บอนขึ้นมา อีกทั้งในเอกสารลับยังระบุว่า จะกินหัวคิว 5 เปอร์เซ็นต์ จากการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา

นักทำไม้อาชีพ เล็งผลเลิศจากการกลับมาบูมของการปลูกป่าคราวนี้ว่า เป็นหนทางที่จะยกระดับอาชีพที่อยู่ชายขอบและต่ำต้อยทางการเมืองของตนให้มีความสำคัญและรุ่งเรืองขึ้นมาได้ เช่น สมาคมป่าไม้อเมริกันก็เสนอทันทีว่า จะปลูกต้นไม้ 100 ล้านต้นเพื่อบรรเทาปัญหา ที่นอร์เวย์ บริษัทป่าไม้ทรีฟาร์มส์ได้ประกาศโครงการปลูกสนโตเร็วและยูคาลิปตัสบนเนื้อที่ 150 ตารางกิโลเมตรของทุ่งหญ้าในแทนซาเนีย บริษัทอ้างว่าภายในปี 2553 โครงการนี้จะเก็บคาร์บอนได้มากกว่าหนึ่งล้านตัน

นักวิจัยวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ก็ยังคาดหวังที่จะมีลู่ทางการงานในตลาดปลูกป่าด้วย เพราะอุตสาหกรรมคาร์บอนที่กำลังโตอยากได้ต้นไม้ดัดแปลงพันธุกรรมที่มีสารลิกนินสูงเพื่อต้นไม้จะได้อยู่นานขึ้น (แต่อาจต้องตบตีกับอุตสาหกรรมกระดาษที่อยากได้ไม้ดัดแปลงพันธุกรรมที่มีสารลิกนินต่ำ)

นักวิชาการ จากสถาบันอย่างมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กกับมหาวิทยาลัยฟลอริดาก็กำลังขะมักเขม้นอยู่กับการหาวิธีรับรองและตรวจสอบการดูดซับคาร์บอน หรือแม้แต่นักวิชาการไทยด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า ?หากประเทศไทยรับโครงการ CDM แต่ละหน่วยงานจะต้องไปหาซื้อเซฟใหญ่มาเก็บเงินที่จะไหลมาเทมา?

เจ้าหน้าที่รัฐในประเทศซีกโลกเหนือ (อุตสาหกรรม) หลายประเทศก็พากันตามกระแสอย่างขมีขมัน อย่างรัฐบาลออสเตรเลียหวังว่าการตั้งตลาดต่อรองเรื่องใบอนุญาตการปล่อยกับคาร์บอนเครดิตจะกระตุ้นเศรษฐกิจ, รัฐมนตรีเกษตรของรัฐนิวเซาธ์เวลส์ก็ตื่นเต้นกับ ?อุตสาหกรรมพลวัตใหม่? ซึ่งจะสร้างงานในพื้นที่ปลูกป่าใหม่ ๆ นับล้านเฮกตาร์ เงินบางส่วนจะมาจากบริษัทผลิตไฟฟ้าญี่ปุ่น

รัฐบาลประเทศทางใต้ หลายประเทศก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะแข็งขืนกระแสการปลูกป่าได้ อาร์เจนตินาก็คิดว่าจะได้เงินปีละ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการ ?ดูแลรักษาป่าที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์? ซึ่งปลูกด้วยเงินลงทุนต่างชาติ 4 พันล้านเหรียญบนพื้นที่ 10 ล้านเฮกตาร์ ซึ่งตอนนี้ส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้า รัฐมนตรีประเทศแอฟริกันราว 26 คนได้เรียกร้องให้มีกองทุนพิเศษเพื่อเตรียมการงานบริหารจัดการ

เอ็นจีโอบางกลุ่ม ซึ่งตั้งตัวเองเป็นนายหน้าคาร์บอนและผู้เชี่ยวชาญการดูดซับคาร์บอน ก็หวังว่าจะได้การยอมรับจากผู้สนับสนุนหรือเพื่อนพ้องในรัฐบาลและธุรกิจว่าเป็น ผู้สนับสนุนแนวทาง ?ตลาดเสรี? ที่กำลังเป็นกระแสหลักในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่วนกองทุนปกป้องสภาพแวดล้อมกับพันธมิตรป่าฝนได้ร่วมกับ Forestry Research Institute ในการช่วยตรวจสอบบัญชีโครงการป่าคาร์บอนของซัน คอร์ปอเรชั่นในอเมริกากลางและที่อื่น ๆ

เอ้า…เอากันซะให้พอ

ภาวะโลกร้อน ภาวะสิ้นหวัง

ขณะที่คนบางกลุ่มกำลังหากินกับ ภาวะโลกร้อน อย่างขมีขมัน โลกไม่ได้อยู่เฉยให้พวกเขากอบโกย เพราะ ?ระเบิดเวลาทางนิเวศกำลังเดินต่อไป? จากหนังสือพิมพ์ดิ อินดิเพนเดนท์ ของอังกฤษ รายงานว่า ได้ถึงภาวะนับถอยหลังเข้าสู่หายนะอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยโลกอาจเข้าสู่จุดที่ไม่สามารถกลับตัวได้ ภายในเวลาไม่เกิน 10 ปี นี่ไม่ใช่คำทำนายของนอสตาดามุส แต่เป็นรายงาน ?การเผชิญความท้าทายของสภาพอากาศ? ผลงานร่วมของ 3 สถาบันคือ สถาบันเพื่อการวิจัยนโยบายสาธารณะของอังกฤษ ศูนย์เพื่อความก้าวหน้าของอเมริกา และสถาบันออสเตรเลีย รายงานระบุว่า จุดอันตรายจะส่งสัญญาณเมื่ออุณหภูมิสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส เหนืออุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 1750 ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

ขณะที่ในปัจจุบัน อุณหภูมิเฉลี่ยได้สูงขึ้นจากช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว 0.8 องศา และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผลที่จะเกิดตามมาจากการเพิ่มขึ้นต่าง ๆ เหล่านี้อาจรวมถึงความล้มเหลวทางการเกษตร ความแห้งแล้งครั้งใหญ่ ตลอดจนโรคระบาดชุกชุม ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และป่าไม้แห้งตาย ผนวกกับข่าวร้าย พืดน้ำแข็ง (ice sheet) ขนาดมหึมาในด้านตะวันตกของแอนตาร์กติก มีมวลน้ำแข็งถึง 3.2 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร ที่กำลังสูญเสียเสถียรภาพ ซึ่งหากละลายทั้งหมด จะยกระดับน้ำทะเลทั่วโลกให้สูงขึ้นอีก 16 ฟุต หรือ 4.8 เมตร และหากรวมกับน้ำแข็งที่กรีนแลนด์และขั้วโลกเหนือที่กำลังหลอมละลายอย่างรวดเร็ว จะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นอีก 20 ฟุต หรือ 5-6 เมตร รวมเหนือใต้แล้วอาจทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น 12 เมตร

ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางส่วนรวมทั้งนักรณรงค์ปัญหาภูมิอากาศ…สิ้นหวัง ซึ่ง ผศ.จิรพล สินธุนาวา อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยามหิดล ถอนหายใจเมื่อได้ยินคำถามว่า จาก ภาวะโลกร้อน ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นในขณะนี้ เราจะทำอย่างไรกันดี

?หากคุณมาถามคำถามนี้กับผมเมื่อ 10 ปีก่อน ผมอาจจะยังมีคำตอบให้ แต่ขณะนี้ไม่มีประโยชน์อะไรอีกแล้ว เราหลีกเลี่ยงหายนะเหล่านี้ไม่ได้ มันเกิดจากการใช้ชีวิตของเรานี่เอง.?
Credit :Localtalk2004.com

]]>
https://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/global-warming-timebomb/feed/ 27
สภาวะโลกร้อน อาจทำรางรถไฟสายทิเบตพัง https://www.whyworldhot.com/global-warming/tibet-railroad/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/tibet-railroad/#comments Fri, 13 Apr 2007 14:31:48 +0000 http://www.whyworldhot.com/uncategorized/%e0%b8%aa%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%b0%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%99-%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%96/ นาย ชิง ต้า เหอ ผู้อำนวยการสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของจีน เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ ปักกิ่ง มอร์นิ่งโพสต์ ของจีนว่า ปัญหาโลกร้อน อาจเป็นอันตรายกับผู้โดยสารที่ใช้บริการทางรถไฟสายทิเบต ที่เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อปีที่แล้ว เพื่อเชื่อมโยงทิเบตกับเขตตะวันออกของจีน นอกจากนั้น ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงระบบรางรถไฟ ก็อาจจะทะยานสูงขึ้นด้วย

โดยผู้เชี่ยวชาญวิตกว่า บางส่วนของรางรถไฟสายนี้อาจจะไม่มั่นคง และนำไปสู่เหตุรถไฟตกรางได้ หากอากาศที่อุ่นขึ้นทำให้น้ำแข็งใต้รางรถไฟละลาย ซึ่งทางรถไฟที่ยาว 1 พัน 142 กิโลเมตรนี้ ไต่ระดับไปที่ความสูงสูงสุด 5 พัน 72 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ทำให้มันได้ชื่อว่าเป็นทางรถไฟที่สูงที่สุดในโลก

ด้านนาย เกียงบา ปุนค็อก ผู้บริหารเขตปกคตรองตนเอง ที่มาเข้าร่วมประชุมรัฐสภาจีนที่กรุงปักกิ่ง ออกมาปฏิเสธเรื่องที่ว่า ทางรถไฟสายนี้ไม่ปลอดภัย แต่ก็ยอมรับว่า เมื่อเร็วๆนี้ รถไฟขบวนหนึ่งเกิดตกรางจริง แต่ไม่มีใครเสียชีวิต

จาก : ข่าวด่วน เว็บไซต์คมชัดลึก
http://www.komchadluek.net/scripts/hotnewskcl.php?newsid=247601

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/tibet-railroad/feed/ 19
ร่วมแก้ ปัญหาโลกร้อน https://www.whyworldhot.com/solving-global-warming/ https://www.whyworldhot.com/solving-global-warming/#comments Thu, 05 Apr 2007 03:11:37 +0000 http://localhost/whyworldhot/?page_id=19 บทความต่างๆ เกี่ยวกับการแก้ไข ปัญหาโลกร้อน ที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ

]]>
https://www.whyworldhot.com/solving-global-warming/feed/ 198